ความกว้างของยาง/ความกว้างของหน้ายาง
ความเข้าใจผิด : บนแก้มยางจะมีการระบุขนาด ต่างๆ ของยางเส้นนั้นไว้อยู่เสมอ สำหรับยางทั่วไปจะมีการระบุรายละเอียดที่คุ้นเคยกันตามตัวอย่าง เช่น 205/60R15
ตัวเลข 3 หลักแรกนี้เองที่หลายคนเข้าใจผิด โดยเข้าใจว่าเป็นความกว้างของหน้ายางที่สัมผัสถนน มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร ในกรณีตัวอย่างนี้ คิดว่ายางเส้นนี้มีหน้ากว้าง 205 มิลลิเมตร
ความเป็นจริง : ตัวเลข 3 หลักแรกนี้ เป็นความกว้างของยาง ไม่ใช่ความกว้างของหน้ายางที่สัมผัสพื้น วิธีการตรวจสอบง่ายๆ ตัวเลข 3 หลักนี้ ก็คือ นำยางเส้นนั้นใส่กับกระทะล้อที่มีขนาดเหมาะ สมกันตามมาตรฐานที่วงการยางกำหนดและสูบลม วัดความกว้างของยางจากส่วนที่กว้างที่สุด ซึ่งมักจะ เป็นส่วนโค้งของแก้มยางที่ป่องออกมา จากแก้มข้างหนึ่งมายังอีกข้างหนึ่ง โดยวัดรวมทุกอย่างที่กว้าง ที่สุด ถ้าบังเอิญมีตัวอักษรตัวเลขหล่อนูนออกมา ก็ ต้องวัดรวมด้วย แล้วก็จะได้ค่าความกว้างนั้นออกมา
ตัวเลข 3 หลักแรกที่ระบุไว้ เช่น 205 จะเป็นความกว้างของยางในส่วนที่ป่องที่สุด ซึ่งเป็นแก้มยาง ส่วนความกว้างของหน้ายางจริง จะไม่มีการกำหนดไว้ และเท่าที่ทลองวัดดู ก็จะแคบว่าตัวเลขความกว้างของยางที่ระบุไว้ 10-30 มิลลิเมตร
นั่นหมายความว่า สมมุตติยางที่ระบุความกว้าง ไว้เท่ากัน แต่ต่างรุ่นต่างยี่ห้อกัน ความกว้างของยาง บริเวณแก้มจะต้องเท่ากัน แต่ไม่แน่ว่าความกว้างของยางจะต้องเท่ากัน เพราะพบว่ายางรุ่นสปอร์ตหรือเน้นสมรรถนะสูง จะมีความกว้างของหน้ายางใก้ลเคียงกับตัวเลขความกว้าง ของยางมากกว่ายางรุ่นพื้นๆ สำหรับใช้งานทั่วไป
หากไม่เชื่อบทความนี้ ให้เอาไม้บรรทัดหรือตลับเมตรไปวัดรอยฝุ่นบนหน้ายางได ้เลย แล้วจะพบว่า แคบกว่าตัวเลขที่ระบุไว้มาก วัดยังไงก็ไม่เท่ากัน แต่พอเล็งๆ แถวแก้มยาง ก็พบว่ากว้างพอกับตัวเลข 3 หลักแรกที่ระบุไว้จริงๆ
ตัวเลขซีรีส์ ต้องคำนวนก่อน
ความเข้าใจผิด : จากตัวอย่าง 205/60R15 ตัวเลข 2 หลักชุดที่ 2 คือ 60 หมายถึงซีรีส์ของยาง หลายคนเข้าใจผิดว่า ยางที่มีตัวเลขซีรีส์มาก จะต้องมีแก้มสูงกว่ายางที่มีซีรีส์น้อยกว่าเสมอ
ความเป็นจริง : ตัวเลขซีรีส์ หมายถึง ความสูงของแก้มยางคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของความกว้าง ของยาง หากต้องการทราบความสูงจริงของแก้มยาง ก็ต้องมีการคำนวณก่อน
จากตัวอย่าง ยางเส้นนี้ มีความสูงของแก้มยาง เป็น 60 เปอร์เซ็นต์จากความกว้าง 205 มิลลิเมตร คำนวนโดยนำ 205 X (60/100) = 123 มิลลิเมตร
ถ้าไม่ผ่านการคำนวณ จะสรุปลอยๆ ไม่ได้ว่า ยางซีรีส์ 65 จะมีแก้มยางจริงสุงกว่ายางซีรีส์ 60 หากมีความกว้างของยางต่างกัน
เช่น ยาง 205/60R13 มีแก้มสูง 205 X (60/100) = 123 มิลลิเมตร ส่วนยาง 185/65R13 มีแก้ม สูง 185 X (65/100) = 120.25 มิลลิเมตร มีแก้มจริงเตี้ยกว่าทั้งที่มีตัวเลขซีรีส์เป็น 65 มากกว่าเส้นแรกอยู่ 5 ซีรีส์
ถ้าจะเดาความสูงของแก้มยาง ก็ต้องดูตัวเลข 3 หลักแรกความกว้างของยางด้วย แต่ถ้าจะให้แม่นยำก็ต้องนำไปคำนวณก่อน
ยางที่ใช้กับกระทะล้อขอบใหญ่กว่า ยางต้องใหญ่กว่า
ความเข้าใจผิด : ในกรณีที่จะเปลี่ยนล้อแม็กให้มีขาดเส้นผ่าศูนย์กลางใ หญ่ขึ้น ตามสไตล์ล้อแม็กวงโต+ยางแก้มเตี้ย เช่น ล้อเดิมขอบ 14 นิ้ว จะเปลี่ยนเปลี่ยนเป็นขอบ 16 นิ้ว หลายคนเข้าใจผิด โดยรีบสรุปว่ายางที่ใช้กับกระทะล้อขอบ 16 นิ้ว ต้องมีขนาดใหญ่กว่ายาง 14 นิ้ว ไปมองไปอิงกับตัวเลขขอบกระทะล้อทั้งที่นั่นคือ วงในของยาง ไม่ใช่วงนอก
ความเป็นจริง : ยางจะมีเส้นรอบวงมากหรือมีความสูงโดยรวมเท่าไร ไม่เกี่ยวกับขนาดของกระ ทะล้อหรือเรียกกันว่าขอบกี่นิ้วนัก เพราะต้องขึ้นอยู่กับความสูงของแก้มยาง ซึ่งก็ขึ้นกับความกว้างและซีรีส์นั่นเอง
ยางขอบ 17 นิ้ว ซีรีส์น้อยแก้มเตี้ยบางเฉียบ อาจจะมีเส้นรอบวงน้อยและมีความสูงโดยรวมน้อย กว่ายางขอบ 14 นิ้ว ซึ่งมีซีรีส์มากและแก้มสูงก็เป็นได้
ยางเปอร์เซ็นต์ เมินได้เลย
ความเข้าใจผิด : เป็นที่เข้าใจว่า ยางเปอร์เซ็นต์ คือ ยางมือสอง คนส่วนใหญ่มองว่าเมินยางเปอร์ เซ็นต์ไปได้เลย เพราะคิดว่าล้วนเป็นยางมือสองที่ได้มาจากเจ้าของเดิม ถอดทิ้งหรือถอดขายให้ร้านในราคาถูกๆ เพื่อเป็นส่วนลดในการซื้อยางใหม่ ยางจึงน่าจะหมดสภาพแล้ว หากฝืนซื้อมาใช้งานต่อก็จะเสี่ยงต่ออันตราย
ความเป็นจริง : ยางเปอร์เซ็นต์หลายสิบเปอร์เซ็นต์ที่ขายอยู่ทั่วไป เกือบหมดสภาพแล้วจริงๆ หากใครซื้อมาใช้ก็เสี่ยงอันตราย แต่ไม่ใช่ว่าทุกเส้นจะไม่น่าสนใจ
เพราะในกรณีที่เป็นยางซึ่งถูกเปลี่ยน เพราะเจ้าของอยากเปลี่ยนขนาดยางหรือล้อแม็ก ทั้งที่ยังไม่หมดสภาพ ยางเปอร์เซ็นต์เส้นนั้นก็ยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ บางครั้งรถป้ายแดงขับออกมาจากโชว์รูมได้ไม่กี่วัน ก็เปลี่ยนยางเดิมออกแล้ว หรือใช้ยางเดิมได้ไม่กี่เดือน ก็อยากเปลี่ยนล้อแม็กวงโต+ยางแก้มเตี้ยตามแฟชั่น ก็อาจจะถอดยางชุดเดิมขายลดราคากับทางร้านหรือประกาศข ายเองเป็นยางเปอร์เซ็นต์
บางครั้งยางก็ถูกเปลี่ยนออก เพราะความหวาดกลัวเกินไป ทั้งจากตัวเองหรือคำแนะนำที่ผิดๆ ว่ายางรถยนต์ใช้ได้แค่ 2 ปี หรือไม่เกิน 40,000 กิโลเมตร ทั้งที่ความจริงใช้ได้นานกว่านั้น ยางชุดนั้นจึงยังไม่หมดสภาพแต่กลับถูกเปลี่ยนออก ซึ่งเมื่อนำออกขายเป็นยางเปอร์เซ็นต์ ภสพาจึงยังดีอยู่ และสามารถใช้ต่อได้อีก
การเลือกใช้ยางเปอร์เซ็นต์ หากดูอย่างละเอียด รอบคอบ และเลือกยางที่ไม่ได้ถูกเปลี่ยนเพราะหมด สภาพ โดยเฉพาะยางที่ถูกเปลี่ยนเพราะเจ้าของเดิม อยากเปลี่ยนขนาด บางครั้งก็น่าสนใจ
เปลี่ยนยางทิ้งเร็วเกินไป
ความเข้าใจผิด : คนส่วนใหญ่เชื่อและได้รับ คำแนะนำที่ผิดๆ ว่ายางรถยนต์ต้องเปลี่ยนตามระยะทางเท่านั้นเท่านี้ หรือไม่เกินกี่ปีต้องเปลี่ยนออก แม้ว่าดอกยังไม่หมด หรือยังดูดีอยู่ก็ต้องเปลี่ยนออก หลายคนเชื่อปักใจ เพราะหวาดระแวงกลัวยางระเบิดแล้วอันตราย
ความเป็นจริง : จริงอยู่หากยางระเบิดแล้วจะเสี่ยงต่ออุบัติเหตุหรือค วามยุ่งยาก ต้องเปลี่ยนยางกลางทาง แต่การใช้อะไรแล้วเปลี่ยนทิ้งทั้งที่ยังไม่หมดสภาพ เสียดายทั้งเงินทั้งทรัพยากรของโลกที่ต้องเสียไปด้วย ความหวาดระแวง
ผู้ผลิตยางรถยนต์ส่วนใหญ่ แม้ว่าอยากจะขายยางเส้นใหม่เร็วๆ ก็ยังไม่เคยมีคำแนะนำให้เปลี่ยนยางเมื่อครบ 3 ปี หรือเมื่อเกิน 50,000 กิโลเมตรหรือต่ำกว่านั้นเลย มีแต่การแนะนำว่า สามารถใช้งานได้จนดอกจะสึกถึงสัญลักษณ์ที่จุดลึกสุดข องร่องยาง และถ้าดอกยังไม่หมด หากดูแล้วไม่มีการแตกร้าวปริบวม ก็สามารถใช้ต่อได้จนดอกสึกถึงระยะข้างต้น โดยไม่จำกัดปีที่ใช้
ค้นหาทั้งจากเอกสารหรือถามจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคข องผู้ผลิตยางโดยตรง ก็บอกอย่างนี้ทั้งนั้น พอถามแบบกลางๆ ว่า งั้นของคำตอบที่คนทั่วไปอยากทราบได้ไหม เขาก็บอกว่า 3 ปี หรือ 40,000 กิโลเมตร หากดอกยังไม่หมด ยางส่วนใหญ่ (หากยางเส้นนั้นไม่ได้ใช้งานหนักบนทางวิบาก หรือได้รับการกระแทกบ่อย) น่าจะยังไม่หมดสภาพ และน่าจะใช้ได้อีกไม่น้อยกว่า 1-2 ปีขึ้นไป หรืออีกหลาย หมื่นกิโลเมตร และพอถามย้ำอีก เขาก็บอกว่า ประ มาณว่าถ้าดอกไม่หมดยางน่าจะใช้ได้เกิน 60,000 กิโลเมตรหรือแถวๆ 5 ปีได้สบาย และก็บอกทิ้งท้ายว่า ถ้าดอกไม่หมด และดูสภาพแล้วยังปกติ ก็ยังใช้ต่อได้อีก
ขนาดฝ่ายผู้ผลิตที่อยากขายยางใหม่ให้ได้มากๆ ยังมีคำแนะนำให้ใช้งานได้นานกว่าความเชื่อของคนทั่วไ ป ดังนั้นก่อนที่จะเปลี่ยนยางใหม่ ก็ควรแน่ใจว่ายางเส้นเดิมหมดสภาพและไม่น่าเสี่ยงใช้ง านต่อแล้ว ไม่ใช่เปลี่ยนเพราะความหวาดระแวง ทั้งที่เพิ่งผ่านการใช้งานเกินครึ่งมาไม่เท่าไร
ยางเก่าเก็บไม่น่าสน
ความเข้าใจผิด : เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า ยางรถยนต์ที่ถูกเก็บสต็อกไว้ สามารถหมดสภาพได้ แม้จะยังไม่เคยใช้งานก็ตาม แต่ตัวเลขจำนวนเดือนปีที่จะถือว่าไม่น่าซื้อใช้ของแต ่ละคนไม่เท่ากัน บางคนตั้งใจว่า ผลิตเกิน 3 เดือนจะไม่ซื้อ บางคน 6 เดือน หรือบางคน 1 ปีกว่าๆ ยังรับได้ ความเข้าใจผิดก็คือ คนที่หวาดระแวงเกินเหตุ เก็บเกิน 3-6 เดือนไม่เอาแล้ว ทำเป็นว่ายางรถยนต์จะเน่าง่ายๆ แบบขนมเค้กหรือต้องรอของที่อบเสร็จกันหน้าเตาเลย
ความเป็นจริง : ข้อมูลจากผู้ผลิตยางรถยนต์ หากเก็บโดยไม่โดนความร้อนจัดเย็นจัด ไม่ถูกสารเคมี และจัดวางอย่างเหมาะสม จะสามารถเก็บ สต็อกได้นานถึงกว่า 5 ปีก็ยังมี โดยไม่เสื่อมสภาพ สามารถนำมาใช้งานได้
ส่วนที่ตั้งแง่ว่าเกิน 3-6 เดือนจะไม่ซื้อ สงสัยต้องตระเวนหากันเหนื่อย ถ้ามีคนเข้าใจผิดกันมากๆ สงสัยอีกหน่อยต้องเหนื่อยไปดักซื้อหน้าโรงงานกันเลย ผลิตมาเก็บไว้ หากขายไม่ดี เกิน 6 เดือนแล้วจะขายไม่ออก
ถ้าคิดว่าคำแนะนำนั้นเป็นเพราะกลัวขายยางเก่าเก็บไม่ ได้ ก็ย้อนไปอ่านกรณีที่แนะนำอายุการใช้งานของยาง ก็ยาวนานเช่นเดียวกัน ในฐานะของผู้บริโภคลดลงมาเหลือ 3 ปีก็คงรับได้ จึงสรุปว่า ยางรถยนต์ที่ถูกเก็บไว้ไม่เกิน 3 ปี ยังสามารถซื้อมาใช้งานได้ตามปกติโดยไม่ต้องกังวลอะไร หรือถ้ายังกลัว ก็สักไม่เกิน 2 ปียังรับได้ แต่ถ้าวิตกจริต เก็บมาแถวๆ ไม่เกิน 1 ปี หรือเกินเล็กน้อย ก็คงสบายใจได้
ยางดอกหมดลื่น
ความเข้าใจผิด : ยางดอกหมดหรือยางหัวโล้น จะลื่น นึกไปถึงหัวคนว่าโล้นแล้วต้องลื่น ถ้าจะให้ถูกต้อง ต้องบอกว่าลื่นบนถนนเปียก แต่บนถนนแห้งจะเกาะถนนดีกว่าบางมีดอกลึก
ความเป็นจริง : ยางรถยนต์เกาะถนนได้โดยหน้าสัมผัสซึ่งทำหน้าที่เป็นเ ฟืองยางขนาดจิ๋วถี่ๆ ผังลงไปบนพื้นถนน ยิ่งมีหน้าสัมผัสมากก็ยิ่งมีเฟืองมาก เกาะถนนได้ดี ส่วนร่องยางที่มีนั้นเตรียมไว้ให้รีดน้ำออกจากหน้าสั มผัสของยาง หรือให้น้ำแทรกตัวเข้าไปอยู่ชั่วคราวได้
ร่องยางส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นทรงตัว U แต่เป็น กึ่งตัว V ปากร่องกว้างกว่า ยอดของแท่งดอกยางจึงแคบกว่า เมื่อยางสึกลงไปร่องตื้นหรือเกือบหมด หน้าสัมผัสยางจึงมีมากที่สุด เพราะฐานของแท่งดอกยางกว้างกว่าตอนที่ยังไม่สึกมาก หากเนื้อยางยังไม่แข็งมาก ยางที่ดอกเกือบหมดหรือหมด แต่ยัง ไม่ทะลุ จะเกาะถนนแห้งได้ดีกว่ายางมีดอกมีร่องลึก เพราะเรื่องพื้นที่ของหน้าสัมผัสที่แตกต่างกัน แต่จะลื่นกว่าเมื่อเจอถนนเปียก เพราะไม่มีร่องยางช่วยรีดน้ำ หน้ายางจะมีชั้นฟิล์มของน้ำคั่นอยู่ จะสัมผัสถนนไม่เต็มที่
ดังนั้นถ้าจะบอกว่ายางหัวโล้นขับแล้วลื่น ต้องระบุด้วยว่าบนถนนแห้งหรือเปียก
ยางนอกดีกว่า
ความเข้าใจผิด : หลายคนยังเข้าใจว่ายางที่ผลิตจากนอกหรือต่างประเทศจะ มีคุณภาพดีกว่ายางไทย
ความเป็นจริง : ไม่ว่าจะผลิตจากประเทศใด หากมองถึงคุณภาพ ก็ต้องว่ากันเป็นรุ่นๆไป จะบอก ไม่ได้ว่ายางญี่ปุ่นดีกว่าไทย ยางไทยดีกว่ายางมาเล-เซีย โลกเทคโนโลยีเชื่อมกันแล้ว การถ่ายทอดการพัฒนาการผลิตล้วนทำได้ถ้าตั้งใจจะทำ
ยางนอกเก่าเก็บ
ความเข้าใจผิด : คิดว่าต้องขนส่งทางเรือมา ข้ามน้ำข้ามทะเลมา กว่าจะเอามาจากโรงงาน ขนขึ้นและเดินทางในเรือ ออกจากไทย คงเก่าเก็บมาก
ความเป็นจริง : หากมีการจัดการที่ดี รวมเวลา ทุกขั้นตอน ไม่ว่านำยางมาจากประเทศใด รวมขน ส่งถึงร้านยางทั่วไปในไทย ไม่น่าใช้เวลาเกิน 1 เดือน บางยี่ห้อคุยว่าครึ่งเดือนก็ถึงแล้วในกรณีที่นำเข้าจ ากญี่ปุ่น ซึ่งก็จริงเพราะใช้เวลาเดินเรือไม่กี่วันเท่านั้น ส่วนการขาขึ้นเรือหรือขนออกจากท่าเรือ ก็ใช้เวลาขั้นตอนละ 1-2 วันเท่านั้น
ยางยี่ห้อไม่ดัง คุณภาพต่ำ
ความเข้าใจผิด : ถ้าไม่ใช่ยี่ห้อดังติดหัวแถว คุณภาพจะต่ำ อีกทั้งยังเปรียบเทียบจากราคาที่ถูกกว่าของยี่ห้องดั งๆ ก็เดาไปว่าของถูกแต่ดีไม่มีในโลก
ความเป็นจริง : ยางรถยนต์ไม่ได้มีแค่ 2 ยี่ห้อ และยี่ห้อที่ไม่ดัง ก็อาจมีคุณภาพดีใช้ได้ เพียงแต่ไม่ติดกระแสหรือไม่โหมโฆษณามาก ทั้งที่คุณภาพดี แต่แพ้กระแสความเชื่อ และไม่ต้องเสียค่าโฆษณามาก ก็เลยตั้งราคาได้ต่ำ หากเลือกอย่างรอบคอบ ก็อาจจะได้ยางคุณภาพดีราคาถูกก็เป็นได้
ซื้อยางในศูนย์บริการเร่งด่วนถูกกว่า
ความเข้าใจผิด : มีการเปิดศูนย์บิการซ่อมรถยนต์แบบเร่งด่วนหลายสาขาหล ายที่ และมักจะเน้นการขายยางรถยนต์ด้วย ซึ่งส่วนใหญ่มีการแข่งขันมากมาย มียางให้เลือกหลายยี่ห้อและจัดข้อเสนอพิเศษมากมาย ทั้งลดราคาทั้งแถม ซื้อ 3 แถม 1 หรืออะไรอีกสารพัด หลายคนจึงคิดว่า จะมีราคาถูกกว่าร้านยางห้องแถวทั่วไป
ความเป็นจริง : เท่าที่เคยตรวจสอบราคา พบว่ามีน้อยครั้งมากที่จะมีราคาจริงในการซื้อยางถูกก ว่าการซื้อยางตามร้านทั่วไป น่าแปลกทั้งที่สั่งซื้อยางในจำนวนมากกว่า แต่ทำไมขายถูกกว่าไม่ได้ คงเป็นเพราะค่าลงทุนด้านสถานที่และเครื่องมือมากกว่า นั่นเอง
ปะยาง แบบยิงยางเส้นอุด รั่วง่าย
ความเข้าใจผิด : ทั้งคำแนะนำจากร้านปะยางหรือดูด้วยสายตา ก็ชวนให้คิดว่าการปะยางแบบยิงยางเส้นเข้าไปเบ่งตัวใน รูรั่วน่าจะมีโอกาสรั่วแบบซึมๆ ได้ในบางครั้ง หรือเมื่อใช้ไปนานๆ เพราะไม่มีการปะแบบอุดกาวหรืออัดแน่นให้เป็นชิ้นเดีย วกันแต่อย่างไร
ความเป็นจริง : น่าแปลกที่ผู้ผลิตยางแนะนำการปะยางแบบนี้เป็นมาตรฐาน และไม่แนะนำการปะยางแบบสตีมอัดทับรูรั่วด้วยยางแผ่นแ ละความร้อน เพราะจะทำให้ยางแข็งหรือบวมได้ สวนทางกับร้านปะยางที่พยายามจะให้ปะแบบสตีม ที่ทำเงินได้มากกว่า และดูแน่นหนากว่า
หลายเรื่องในโลกรถยนต์ มีความเข้าใจผิดกันอยู่ และไม่ใช่เรื่องน่าอายถ้าจะทำความเข้าใจให้ถูกต้อง
ผมขอเสริมเรื่องปะยางอีกเล็กน้อยนะครับการอุดยางแบบป ะสตีมนอกจากทำให้เนื้อยางบริเวณที่ปะเสียสภาพลงเนื่อ งจากความร้อนแล้ว ถ้าร้านใช้ยางแผ่นใหญ่ปะ และเป็นล้อหน้าคุณต้องถ่วงล้อใหม่ หรือต้องสับไปใช้เป็นล้อหลังแทน เพราะการปะเเบบนี้จะทำให้ยางไม่ได้ดุลเกิดอาการพวงมา ลัยสั่นได้ที่ความเร็วระดับหนึ่งครับ
ขอขอบคุณข้อมูล www.hondaloverclub.com/
รถไฟฟ้าที่น่าสนใจ...
รถยอดนิยม
Mazda 2 ราคาเริ่มต้น 546,000.
Mazda 3 ราคาเริ่มต้น 969,000.
Mazda CX-3 ราคาเริ่มต้น 769,000.
Nissan Almera ราคาเริ่มต้น 499,000.
Nissan Kicks ราคาเริ่มต้น 889,000.
Nissan Navara ราคาเริ่มต้น 599,000.
Honda City ราคาเริ่ม 579,500.
Honda City Hatchback ราคาเริ่ม 599,000.
Honda City e:HEV ราคา 839,000.
Honda Civic ราคาเริ่ม 874,000.
Mitsubishi Triton ราคาเริ่มต้น 539,000.
Mitsubishi Xpander ราคาเริ่มต้น 789,000.
Mitsubishi Pajero Sport ราคาเริ่มต้น 1,299,000.
Toyota Revo ราคาเริ่มต้น 544,000.
Toyota Yaris ATIV 4 ประตู ราคาเริ่มต้น 529,000.
Toyota Yaris 5 ประตู ราคาเริ่มต้น 539,000.
Toyota Corolla Cross ราคาเริ่มต้น 989,000.
Toyota Fortuner ราคาเริ่มต้น 1,319,000.
แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับ " มีความรู้เรื่อง “ยางรถยนต์” มาฝากครับ "