ระบบส่องสว่างกับยานยนต์ ดูจะเป็นอะไรที่ขาดกันไม่ได้เลยนะครับ โดยเฉพาะยิ่งกับไฟหน้าที่เสมือนเป็นผู้ช่วยชั้นดีในยามค่ำคืน ยกเว้นเสียแต่ว่าคุณจะขับเฉพาะตอนกลางวัน แต่จริงๆ แล้วกลางวันบางครั้งก็ต้องใช้อยู่ดี เพียงแต่มันจะไม่ได้เปิดตลอดเหมือนในตอนกลางคืน เพราะจะได้ใช้เป็นครั้งคราว (สั้นๆ ด้วย) เท่านั้นเองด้วยอายุการใช้งานในยามอับแสงของแต่ละคน – คันไม่เท่ากัน มันก็เลยพลอยทำให้อายุการใช้งานของหลอดไฟแตกต่างกันไปด้วย เพราะฉะนั้นการคาดคะเนอายุของหลอดไฟจึงเป็นอะไรที่ทำได้ยากยิ่ง
ก็อย่างที่ “นาย T” นั่นแหละครับ ว่าหลอดไฟสามารถที่จะขาดได้ทุกเมื่อ ถ้าเป็นกลางวันก็ดีหน่อย แต่ส่วนใหญ่ก็มักจะไม่รู้ตัวอยู่ดี กว่าจะรู้ก็ตอนมีอาการหน้ามืด (เพราะหลอดไฟขาด) ตอนกลางคืนนั่นล่ะครับ ถ้าเป็นรถที่มีไฟตัดหมอกก็อาจจะต้องเปิดใช้เป็นการชั่วคราว เพราะจริงๆแล้วชื่อมันก็บอกอยู่แล้วว่าใช้สำหรับ ทะลุทะลวงกลุ่มหมอก หรือ ฝนแทนที่ไฟหน้าปกติ ดังนั้นยามค่ำคืนที่ไม่มีหมอก หรือฝนก็ไม่จำเป็นต้องเปิดแต่อย่างใด แสงมันจะไปแยงตาเพื่อนร่วมทาง ซะเปล่าๆครับ จะขอฝากอีกนิดล่ะกันครับกับไฟตัดหมอกหลัง ที่มีจุดประสงค์ไม่ต่างไปจากด้านหน้าแต่อย่างใด เพียงแต่ไม่ได้มีไว้เพื่อให้เรามองเห็น หากแต่มีไว้เพื่อจะให้ เพื่อนร่วมทางคันหลังเห็นรถเรา ในขณะฝ่าหมอกหรือฝนตกหนักต่างหากครับ ดังนั้นถ้าฝนไม่ตกหรือหมอกไม่ลง ก็จะไม่มีความจำเป็น ที่จะต้องเปิดไฟตัดหมอกครับ
อันดับแรกคือต้องรู้ก่อนว่าหลอดไฟหน้าของเราเป็นแบบไหน, รุ่น (H 4, H 1, H 7 ฯลฯ) และจำนวนวัตต์ ถ้าเป็นมือใหม่ไม่เคยทำ ให้ชัวร์ก็ต้องเอาหลอดไฟเก่าไปที่
ร้านได้เลยนะครับ ส่วนยี่ห้อมันก็จะมีค่อนข้างหลากหลายพอสมควร ก็ให้เอาทีว่าค่อนข้างคุ้นชื่อหน่อยก็ดีครับ แต่เปลี่ยนทั้งที ควรต้องเปลี่ยนยกคู่นะครับ เมื่อได้หลอดไฟของใหม่มาแล้ว ก็ไปเปิดฝากระโปรงหน้าเลยครับ แล้วมองเข้าไปที่ด้านหลังของโคมไฟหน้า จุดสังเกตก็คือซีลยางกันฝุ่น ที่มันจะมาพร้อมกันกับสายไฟ
(ประมาณ 3 เส้น) นั่นเองครับ แต่ว่าพื้นที่บริเวณหลังโคม อาจจะค่อนข้างคับแคบหน่อย (แล้วแต่รุ่น) อีกทั้งยังอาจจะมีขอบชิ้นส่วนที่เป็นโลหะ เพราะฉะนั้นเวลาที่ออกแรงก็จะต้องระมัดระวังด้วยนะครับ
ถ้าเป็นหลอดไฟแบบ Halogen พยายามอย่าให้นิ้วสัมผัสกับกระเปาะแก้วเด็ดขาด เพราะอาจจะทำให้หลอดแก้วร้าวในขณะใช้งานได้ครับ ให้จับที่ขั้วหลอดแทนครับ แต่หากพลาดไปโดน ก็ให้เอาผ้าสะอาด
ชุบแอลกอฮอล์เช็ดจนหมดคราบมัน (จนใสปิ๊งนั่นแหละครับ) ส่วนการจะใส่เข้าไปในตัวโคม ก็จะต้องดูบ่าที่ขั้วหลอดซึ่งจะต้องให้ตรงกับร่องของตัวโคม ซึ่งมันก็จะบังคับตำแหน่งของหลอดไปในตัว พูดง่ายๆ ว่าถ้าเข้าล็อคก็ไม่ต้องกลัวว่าขั้วจะผิดทิศผิดทางเลยครับ จากนั้นเราก็ผนึกหลอดด้วยคลิปอย่างเก่า ตามด้วยซีล
ยางกันฝุ่น และสุดท้ายกับปลั๊กไฟ จากนั้นก็ให้ลองเปิดไฟหน้าดูครับ แล้วสลับไฟสูง-ต่ำดูว่าถูกต้องหรือไม่ ? ถ้าถูกต้องก็เป็นว่าเสร็จสิ้นภารกิจแล้วล่ะครับ
อย่าไปคิดเข้าข้างตัวเองว่า ถึงหลอดขาดก็ยังขับได้ “นาย T” พอเข้าใจครับว่าไฟติดเพียงดวงเดียวมันก็ยังพอมองเห็นทาง แต่ว่ากับเพื่อนร่วมทางที่เค้าขับสวนมาเนี่ย เค้าอาจจะคิดว่าเป็นรถจักรยานยนต์ก็ได้นะครับ แล้วเกิดไม่เผื่อช่องว่างให้ขึ้นมาล่ะก็ ไม่อยากจะคิดเลยล่ะครับ จริงๆ แล้วก็ไม่เฉพาะกับไฟหน้านะครับที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะระบบส่องสว่างทุกอย่างจะต้องทำงานได้อย่างครบถ้วน เพื่อให้เพื่อนร่วมทางได้ทราบว่าเรากำลังจะเลี้ยว, เบรคหรือว่าไปในทิศทางใดนั่นเองล่ะครับ
ขอขอบคุณข้อมูล e-ToyotaClub (e-Magazine)
รถไฟฟ้าที่น่าสนใจ...
รถยอดนิยม
Mazda 2 ราคาเริ่มต้น 546,000.
Mazda 3 ราคาเริ่มต้น 969,000.
Mazda CX-3 ราคาเริ่มต้น 769,000.
Nissan Almera ราคาเริ่มต้น 499,000.
Nissan Kicks ราคาเริ่มต้น 889,000.
Nissan Navara ราคาเริ่มต้น 599,000.
Honda City ราคาเริ่ม 579,500.
Honda City Hatchback ราคาเริ่ม 599,000.
Honda City e:HEV ราคา 839,000.
Honda Civic ราคาเริ่ม 874,000.
Mitsubishi Triton ราคาเริ่มต้น 539,000.
Mitsubishi Xpander ราคาเริ่มต้น 789,000.
Mitsubishi Pajero Sport ราคาเริ่มต้น 1,299,000.
Toyota Revo ราคาเริ่มต้น 544,000.
Toyota Yaris ATIV 4 ประตู ราคาเริ่มต้น 529,000.
Toyota Yaris 5 ประตู ราคาเริ่มต้น 539,000.
Toyota Corolla Cross ราคาเริ่มต้น 989,000.
Toyota Fortuner ราคาเริ่มต้น 1,319,000.
แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับ " หลอดไฟหน้าขาด…ไม่ต้องถึงมือช่างก็ได้ "