เบรกตื้อ เป็นอาการที่เวลาเหยียบเบรก แล้วรู้สึกว่า เบรกมันไม่ค่อยอยู่ เบรกแข็งๆ ต้องออกแรงเหยียบเบรกมากๆ อาการเบรกตื้อ เกิดมาจากหลายสาเหตุ เช่น แรงดูดสุญญากาศของหม้อลมน้อย เพราะปั้มตูดไดชาร์จเสีย หรือผ้าในหม้อลมรั่ว วาล์ว PVC หรือ Combo Vale เสีย สายลมรั่ว
เบรกต่ำ เวลาเหยียบเบรกแล้วรู้สึกว่า แป้นเบรกจมลงต่ำกว่าปรกติ เหยียบค้างไว้เบรกค่อยๆจมลงๆ เป็นอาการของเบรกต่ำ ส่วนมากเกิดมาจาก ลูกยางแม่ปั้มเบรกบน มีอาการสึกหรอ หรือบวม ทำให้แรงดันเบรกลดลง ต้องออกแรงเบรกมากขึ้น หรือต้องเหยียบเบรกซ้ำๆกัน หลายๆครั้ง
เบรกติด อาการเหมือนรถมีอาการเบรกทำงานอยู่ตลอดเวลา รถจะตื้อ เบรกร้อนมีกลิ่นเหม็นไหม้ เบรกปัดซ้าย-ขวา รถวิ่งไม่ออก จอดแล้วเข็นรถไม่ได้ เป็นอาการของเบรกติด ส่วนมากเกิดจาก การลูกยางกันฝุ่นของแม่ปั้มเบรกเสีย ทำให้มีน้ำซึมเข้าไปในกระบอกเบรก จนเกิดสนิมติดขัด ลูกสูบเบรกไม่สามารถเคลื่อนตัวเข้าออกได้
การแก้ไข เปลี่ยนชุดซ่อมแม่ปั้มเบรกล่าง ถอดมาขัดสนิมออก ทั้งแม่ปั้ม และกระบอกเบรก หรือถ้ามีสนิมมากจนเกิดตามด จะทำให้น้ำมันเบรกรั่วซึมได้ ต้องเปลี่ยนลูกสูบเบรก หรือแม่ปั้มทั้งชุด
เบรกแตก คืออาการ เหยียบเบรกแล้ว แป้นเบรกที่ขาเบรกจม จนแป้นเบรกกระทบกับพื้นรถ หรือนิ่มหยุ่นๆก่อนแล้วจมลงติดพื้น เมื่อเหยียบเบรกแล้วรถยังคงวิ่งที่ความเร็วเท่าเดิม เหมือนไม่มีเบรก
สาเหตุ
1. เกิดจากรั่วของน้ำมันเบรก เช่นสายอ่อนเบรกแตก ท่อแป๊ปเบรกแตก หรือน้ำมันเบรกรั่วซึมมาเป็นเวลานาน ลูกยางแม่ปั้มเบรก และแม่ปั้มเบรกเก่า เสียหายจนน้ำมันเบรกรั่วไหลออกจนหมด
2. ผ้าเบรกหมด จนหลุดออก เป็นไปได้บ่อยครั้งที่ เวลาที่ผ้าเบรกหมดนานๆ และยังปล่อยไว้ไม่ได้รับการเปลี่ยน ผ้าเบรกจะบางมากจนหลุดออกจากฝักก้ามปูเบรก จะทำให้ลูกสูบเบรกหลุด เบรกจะแตกทันที
3. ส่วนประกอบในระบบเกิดการหลุดหลวม เกิดได้หลายสาเหตุ เช่นสากแป้นเบรก (ที่ตั้งได้ไขไม่แน่นหลุดเกลียว หรือไม่ได้ใส่สลักล็อค) น็อตยึดขาเบรกหลุด ฝักเบรก หรือคาริบเปอร์เบรกยึดไม่แน่น และส่วนประกอบต่างๆในระบบเบรกประกอบไม่แน่นหลุดออก
4. สายอ่อนเบรกแตก สายอ่อนที่เก่ามากๆ จะเกิดอาการบวม เวลาปกติก็ดูดี แต่พอเหยียบเบรกกลับ พองตัวเหมือนลูกโป่ง พวกนี้อันตรายมาก เวลาเหยียบเบรกเบาๆแรงดันน้ำมันเบรกต่ำก็รู้สึกดี แต่พอเวลาคับขัน เหยียบเบรกกะทันหันอย่างแรง สายอ่อนเบรกก็เกิดการรับแรงดันไม่ไหวแตกออก และการติดตั้งสายอ่อนเบรกไม่ดี เสียดสีกับล้อ และยาง หรือเสียดสีกับระบบช่วงล่างของรถ
เบรกหมด คืออาการ เบรกแล้วเกิดเสียงดัง เหมือนเหล็กสีกับเหล็ก เบรกลื่นๆ
เป็นอาการของเวลาที่ผ้าเบรกหมด ผ้าเบรกบางรุ่นจะมีส่วนที่เป็นตุ่มโลหะมาแตะกับจานเบ รกเพื่อให้เกิดเสียงดัง เป็นอาการส่งสัญญาณเตือน หรือติดตั้ง สวิทซ์ไฟโชว์ไว้ที่แผงหน้าปัด ต้องรีบเปลี่ยนโดยทันที เพราะจะทำให้ผ้าเบรกสีกับจนเบรกเสียหาย จนต้อเปลี่ยนจานเบรกใหม่ เสียเงินเพิ่มอีก
เบรกสั่น คืออาการที่เหยียบแล้ว แป้นเบรกเกิดอากาสั่นขึ้นๆลงๆ รู้สึกได้ด้วยเท้า รถที่เบรกสั่นมากๆจะรู้สึกสั่นถึงพวงมาลัย หรือเวลาเหยียบเบรก เกิดอาการสั่นสะท้านไปทั้งคัน
สาเหตุเกิดจาก จานเบรกเกิดการคดบิดตัว เพราะการใช้งานที่รุนแรงกินไป การลุยน้ำ (จานเบรกที่ร้อนจัด เวลาเจอน้ำมักจะบิดตัวได้ง่าย) ลูกปืนล้อหลวม น็อตล้อหลวม ผ้าเบรกสึกหรอไม่เท่ากัน อาการนี้เกิดได้ทั้งระบบดิสเบรก และดรัมเบรก
เบรกเสียงดัง อาการ มีเสียงดังที่เกิดขึ้นในขณะเบรก ส่วนมากเกิดมาจาก ผ้าเบรก และจานเบรก เช่นผ้าเบรกหมด จนเหล็กผ้าสีกับจาน จานเบรกเป็นรอยมากๆเนื่องจากฝุ่น และหินที่หลุดเข้าไปเสียดสี ต้องเจียรจานเบรกใหม่ แต่ถ้าผ้าเบรกก็ใหม่ จานเบรกก็เรียบดี เสียงที่ดังมักเกิดจาก เสียงของผ้าเบรกเอง ผ้าเบรกที่ผลิตไม่ได้มาตราฐาน อัดขึ้นรูปผิดพลาด จะเกิดรอยร้าว เป็นช่องว่างให้อากาศเข้าได้จะเกิดเสียงดัง แล้วอย่าหวังเลยครับว่าใช้ไปเรื่อยๆ แล้วเสียงจะหายเอง ถือว่าน้อยมาก การเปลี่ยนผ้าเบรกใหม่ถือว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุดค รับ
เบรกเฟด คืออาการเบรกลื่นๆ เบรกไม่อยู่ในขณะที่ใช้ความเร็วสูง หรือติดต่อกันหลายๆครั้ง หรือใช้เบรกแบบหักโหม อาการนี้เกิดขึ้นเช่น เวลาที่ขับรถมาด้วยความเร็วสูงมากๆ พอแตะเบรกครั้งแรกก็เบรกอยู่ดี พอแตะเบรกอีกหลายๆทีกลับเกินอาการลื่นเหมือนยังไม่เห ยียบเบรกเลย ถือว่าน่ากลัวมาก
สาเหตุเกิดจาก ความร้อนของจานเบรกที่สูงเกินไป จานเบรกที่ใช้งานหนักอาจจะเกิดความร้อนสูงกว่า 1,000 องศา จานเบรกอาจเกิดการไหม้แดง เหมือนเหล็กถูกเผาไฟ และเกิดการขยายตัวมาก การระบายความร้อนของจานเบรกไม่ดี ผ้าเบรกที่มีคุณสมบัติในการทนความร้อนต่ำ จะเกิดการลุกไหม้เสียหาย ไม่สามารถจับจานเบรกให้อยู่ได้ รวมถึงน้ำมันเบรกที่คุณสมบัติในการทนความร้อนต่ำ จะทำให้น้ำมันเบรกเดือด เกิดการขยายตัวเป็นฟองอากาศ ทำให้แรงดันไฮโดลิคลดต่ำลง
อาการเบรกเฟดนี้ ถือเป็นปัญหาของนักซิ่ง ที่ชอบใช้เบรกแบบรุนแรง เบรกบ่อยๆติดต่อกัน และ รถที่ขับด้วย ความเร็วสูง
การดูแลรักษาระบบเบรก และข้อควรระวัง
การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรก แม้ว่าจะไม่มีการรั่วหรือลดระดับลงอย่างใดก็ตาม น้ำมันเบรกควรได้รับการเปลี่ยนถ่ายปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพราะน้ำมันเบรกมีส่วนประกอบมาจากน้ำมันแร่ จึงมีการรวมตัวกับไอน้ำได้ง่าย ทำให้ระบบเบรกเกิดสนิม ความร้อนที่สูงเกินไปทำให้เกิดฟองอากาศในท่อน้ำมัน ฝุ่นผงที่สึกหรอของลูกยางเบรกจะเสียดสี กับแม่ปั้มเบรก ทำให้กระบอกเบรกเสียหายเร็วขึ้น น้ำมันเบรกต้องเลือกใช้ให้ตรงกับมารตราฐานที่ผู้ผลิต กำหนด เช่น DOT3 จะไม่สามารถนำน้ำมันเบรก DOT อื่นผสม หรือนำน้ำมันอื่นๆเติมแทน เพราะจะทำให้ลูกยางเบรกบวมได้
การเช็คระยะห่างผ้าเบรก ในระบบดรั้มเบรก ระยะห่างระหว่างผ้า และจานเบรกที่มากขึ้น จะสังเกตได้จากการเหยียบเบรกจะต่ำลง และการดึงเบรกมือที่สูงขึ้น ระดับน้ำมันเบรกลดต่ำลง ควรต้องทำการถอดจานเบรกมาทำความสะอาด เป่าฝุ่นทิ้ง และตั้งระยะผ้าเบรกให้ชิดขึ้น การตั้งจะใช้ไขควงเขี่ยเฟืองตั้งให้หมุนตามฟันตั้ง ด้านหลังจานเบรก ใส่ล้อไขให้แน่นแล้วหมุนสังเกตถ้าล้อเริ่มหมุนฝืดขึ้ น ถือว่าใช้ได้ ทำทั้ง 2 ล้อ หรือสังเกตจากเสียงแกรกๆ เวลาดึงเบรกมือควรจะอยู่ที่ 5 – 7 แกรก
การตรวจสอบผ้าเบรก ผ้าเบรกเป็นส่วนที่สึกหรอเร็วกว่าส่วนอื่น เพราะมีการเสียสีทั้งจานเบรก และฝุ่นต่างๆ ควรถอดเช็คเป็นประจำ สังเกตเปรียบเทียบกับผ้าเบรกของใหม่แกะกล่อง จะมีความหนาเป็น 100 % ผ้าเบรกที่ใช้แล้วความหนาจะลดลงเรื่อยๆ ในจุดที่ต่ำกว่า 40 – 30 % นั้นถือว่าไม่ปลอดภัย เพราะผ้าเบรกในช่วงที่เหลือน้อย การสึกหรอจะรวดเร็วกว่าหลายเท่าตัว จนถึงระดับบางมาก เนื้อผ้าเบรกอาจหลุดร่อนได้อย่างกะทันหัน เป็นผลให้แผ่นเหล็กสีกับจานเบรกจนเสียหาย เสียเงินเพิ่ม หรือถ้าผ้าเบรกหลุดออกจากฝักเบรก ลูกสูบปั้มเบรก และน้ำมันเบรกจะหลุดออก ที่เรียกกันว่าเบรกแตกนั้นเอง
การเปลี่ยนจานเบรก และการเจียรจานเบรก การใช้ผ้าเบรกที่มีโลหะผสมอยู่มาก ฝุ่น หิน และการปล่อยให้ผ้าเบรกหมด จะทำให้จานเบรกเป็นรอย การขับรถลุยน้ำขณะที่จานเบรกร้อน จะทำให้จานเบรกคด หรือบิดตัว ต้องทำการเจียรจาน ด้วยเครื่องมือเจียรจานเบรก ทำได้ 2 วิธี การถอดจานเบรกมาเจียรด้วยเครื่องเจียรจาน แบบนี้ต้องใช้ค่าแรงสูงและอาจต้องมีการเปลี่ยนจารบีล ูกปืนล้อใหม่ เสี่ยงต่อเศษฝุ่นผงเหล็กปะปนกับการประกอบจานเบรกคืน และการใช้เครื่องเจียรจานแบบประชิดล้อ แบบนี้ไม่ต้องเสียเวลาถอดจานเบรก และลูกปืนล้อ แต่ความเที่ยงตรงไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับสภาพดุมล้อ และลูกปืนล้อ ว่าหลวมหรือคดหรือไม่ การเจียรจะทำให้จานเบรกบางลง จานเบรกที่บางจะทำให้เกิดการแตกร้าว และคดได้ง่าย ควรเปลี่ยนจานเบรกใหม่ถือเป็นการดีที่สุด
การทำความสะอาดจานเบรก ถ้ามีจารบี หรือสิ่งแปดเปื้อน ติดอยู่ที่จานเบรก ควรใช้น้ำยาล้างจานเบรกโดยเฉพาะ ไม่ควรใช้น้ำมันอื่นๆมาทำความสะอาด หรือถ้าไมมีจริงๆ ควรใช้ทินเนอร์ 100% หรือ แอลกอลฮอลบริสุทธิเท่านั้น
การตรวจสอบสายอ่อนเบรก ควรตรวจสอบเป็นประจำสม่ำเสมอ ถ้าเห็นว่ามีอาการบวม บิดคดเสียรูป ปลอกหุ้มภายนอกฉีกขาด หรือมีการเสียดสี ควรรีบเปลี่ยนทันที เพราะอาจจะเกิดการแตกได้ง่ายๆ
การล้างและเปลี่ยนชุดซ่อมเบรก เบรกที่ได้รับการใช้งานอยู่เป็นประจำ ควรได้รับการเปลี่ยนชุดซ่อม จำพวกลูกยางแม่ปั้มเบรก ลูกยางลูกสูบเบรก และยางกันฝุ่น อย่างน้อย 2 – 4 ปีครั้ง หรือถ้ามีมีการลุยน้ำ ต้องรีบตรวจเช็คทันที เพระลูกยางกันฝุ่นที่เก่าหมดสภาพ จะไม่สามารถกันน้ำและฝุ่นได้ น้ำที่ซึมผ่านเข้าไปในกระบอกเบรก และแม่ปั้มเบรก จะทำลายลูกสูบเบรกให้เกิดสนิม เป็นตามด ในกระบอกเบรก ทำให้เกิดอาการเบรกติด หรือน้ำมันเบรกรั่วซึม
รถไฟฟ้าที่น่าสนใจ...
รถยอดนิยม
Mazda 2 ราคาเริ่มต้น 546,000.
Mazda 3 ราคาเริ่มต้น 969,000.
Mazda CX-3 ราคาเริ่มต้น 769,000.
Nissan Almera ราคาเริ่มต้น 499,000.
Nissan Kicks ราคาเริ่มต้น 889,000.
Nissan Navara ราคาเริ่มต้น 599,000.
Honda City ราคาเริ่ม 579,500.
Honda City Hatchback ราคาเริ่ม 599,000.
Honda City e:HEV ราคา 839,000.
Honda Civic ราคาเริ่ม 874,000.
Mitsubishi Triton ราคาเริ่มต้น 539,000.
Mitsubishi Xpander ราคาเริ่มต้น 789,000.
Mitsubishi Pajero Sport ราคาเริ่มต้น 1,299,000.
Toyota Revo ราคาเริ่มต้น 544,000.
Toyota Yaris ATIV 4 ประตู ราคาเริ่มต้น 529,000.
Toyota Yaris 5 ประตู ราคาเริ่มต้น 539,000.
Toyota Corolla Cross ราคาเริ่มต้น 989,000.
Toyota Fortuner ราคาเริ่มต้น 1,319,000.
แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับ " ปัญหายอดฮิตของระบบเบรก "