
กรุงเทพฯ ประเทศไทย – เจนเนอรัล มอเตอร์ส เปิดเผยรายงานความยั่งยืนของบริษัทฯ ซึ่งพนักงาน 216,000 คนทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทยร่วมกันทำตามเป้าหมายและค่านิยมใหม่ของจีเอ็ม ด้วยการดูแลและเพิ่มลูกค้าที่รักภักดีในแบรนด์ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอันล้ำสมัยที่มีความสำคัญ
และสนับสนุนชุมชนที่จีเอ็มดำเนินธุรกิจอยู่
การดำเนินการเหล่านี้นำโดยแมรี่ บาร์ร่า ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของจีเอ็ม เพื่อมุ่งส่งเสริมวัฒนธรรมความยั่งยืนขององค์กรด้วยการสร้างยานยนต์ที่ ปลอดภัยยิ่งกว่าและชาญฉลาดยิ่งขึ้นพร้อมกับส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง
“จีเอ็มจะเป็นผู้นำในการพลิกโฉมอุตสาหกรรมยานยนต์พร้อมกับดำเนินการปรับ เปลี่ยนองค์กร ครั้งใหญ่อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน” บ็อบ เฟอร์กูสัน รองประธานอาวุโสฝ่ายนโยบายรัฐกิจของจีเอ็ม โกลเบิล กล่าว “พนักงานจีเอ็มทุกคนตั้งแต่ในห้องแล็บทดลองไปจนถึงสายการผลิตกำลังขับ เคลื่อนโลก ให้น่าอยู่ยิ่งขึ้นด้วยการยกระดับการเดินทางแห่งอนาคต”
ด้วยความเชื่อมั่นว่ารถพลังงานไฟฟ้าคือการขับเคลื่อนแห่งอนาคต จีเอ็มลงทุนหลายพันล้าน เหรียญสหรัฐฯ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาและผลิตรถพลังงานไฟฟ้าซึ่งเกิดขึ้นภายในองค์กรทั้งหมด ปัจจุบันจีเอ็มมีรถพลังงานไฟฟ้า 180,834 คันแล่นอยู่บนท้องถนนในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 153,034 คันในปีพ.ศ. 2556
เชฟโรเลตมีการพัฒนารถพลังงานไฟฟ้าให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าในวงกว้างมากขึ้น ได้แก่:
นอกจากนี้คาดิลแลคยังได้ประกาศแผนการทำตลาดรถคาดิลแลค ซีที6 เวอร์ชั่นปลั๊กอินไบริด ขณะที่บูอิคมีการเสนอเทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้า e-Assist ในลาครอสและรีกัล
ความมุ่งมั่นของจีเอ็มครอบคลุมวิธีการปฏิบัติงานด้านการผลิตอย่างรับผิด ชอบ ในปีพ.ศ. 2557 จีเอ็มยกเลิกการใช้แหล่งพลังงานถ่านหินในศูนย์การผลิตอเมริกาเหนือและเดิน หน้าลงทุนพัฒนาพลังงานหมุนเวียนทั่วโลก ปัจจุบันจีเอ็มใช้พลังงานหมุนเวียน 105 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้นจาก 66 วัตต์เมื่อปีที่แล้ว และจะเติบโตมากขึ้นกว่า 125 เมกะวัตต์ภายในปีพ.ศ. 2559 ด้วยการดำเนินโครงการพลังงานลมใหม่ล่าสุด นอกจากนี้จีเอ็มยังมีการเพิ่มแผงโซลาร์สี่แห่งและการใช้ก๊าซชีวภาพจากหลุม ฝังกลบที่ศูนย์การผลิตโอเรียน ทาวน์ชิพ รัฐมิชิแกน และฟอร์ต เวย์น รัฐอินเดียน่า พร้อมกับการใช้ไอน้ำสำหรับการผลิตที่ได้จากของเสียชุมชนที่ศูนย์การผลิตดี ทรอยท์-แฮมแทรมค์
ศูนย์การผลิตแบบปลอดการฝังกลบ 122 แห่งของจีเอ็มได้จุดประกายเป้าหมายในการเป็นบริษัทรถยนต์รายแรกที่มีศูนย์ การผลิตทุกแห่งเป็นแบบปลอดการฝังกลบ โดยความมุ่งมั่นในการจัดการของเสียเหล่านี้ได้ช่วยลดการเปลี่ยนแปลงของสภาพ อากาศ ในขณะที่ความมุ่งมั่นในการจัดการวัสดุเหลือใช้ในปีพ.ศ. 2557 จำนวน 2.5 ล้านตัน ได้ช่วยลดปริมาณมลพิษคาร์บอนไดออกไซด์และอื่นๆ ลงได้มากกว่า 10 ล้านตัน ซึ่งมากกว่าปริมาณการปล่อยมลพิษจากศูนย์การผลิตของจีเอ็มทั่วโลก
ความคืบหน้าเกี่ยวกับความมุ่งมั่นในด้านการผลิตระดับโลก ปีพ.ศ. 2563 (2020 global manufacturing commitments) เมื่อเทียบกับแผนที่วางไว้ในปีพ.ศ. 2553
เมื่อปีที่แล้วศูนย์การผลิตรถกระบะของจีเอ็มในระยอง ประเทศไทย ซึ่งผลิตรถกระบะเชฟโรเลต โคโลราโด และรถเอสยูวี เทรลเบลเซอร์ ได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งใน 13 ศูนย์การผลิตของจีเอ็มทั่วโลกที่ได้รับรองมาตรฐานพลังงานเอเนอร์จี้ สตาร์ ชาลเลนจ์ สำหรับภาคอุตสาหกรรมจากหน่วยงานพิทักษ์สิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา โดยจีเอ็ม ประเทศไทย สามารถลดความเข้มข้นของการใช้งานพลังงานในศูนย์การผลิตที่ระยองลง 20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งช่วยลดปริมาณมลพิษคาร์บอนไดออกไซด์ลงทั้งหมด 7,983 ตัน
โรงงานอุตสาหกรรมที่จะผ่านการรับรองมาตรฐานดังกล่าวได้นั้นจะต้องลดความ เข้มข้นในการใช้พลังงานลง 10 เปอร์เซ็นต์ภายในห้าปีหรือน้อยกว่า ขณะที่ศูนย์การผลิตยานยนต์ในระยองของจีเอ็มได้รับรองมาตรฐานนี้ถึงสองปี ติดต่อกัน
“ศูนย์การผลิตจีเอ็มในระยอง ประเทศไทย และทั่วโลก ได้ให้ความสำคัญในการบริหารจัดการพลังงาน” เชาวฤทธิ์ บุญผ่องศรี ผู้จัดการฝ่ายพลังงานและสาธารณูปโภค กล่าว “ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและการสร้างประโยชน์ทางธุรกิจเป็นแรงผลักดันในการปฏิบัติงานที่ศูนย์การผลิตของเราในทุกวัน”
จีเอ็มได้จับมือกับหลายหน่วยงานในการแก้ไขปัญหาด้านความยั่งยืนในอุตสาหกรรมโดยความร่วมมือในปีที่ผ่านมา ได้แก่:
รถไฟฟ้าที่น่าสนใจ...
แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับ " พนักงาน GM เดินหน้าภารกิจพลิกโฉมการเดินทางแห่งอนาคต "