
Triumph Rocket III Roadster
เครื่องยนต์ 4 จังหวะ 3 สูบ DOHC ระบายความร้อนด้วยน้ำ
ขนาดความจุ 2,294 ซีซี.
กระบอกสูบ x ระยะชัก 101.6 x 94.3 มม.
ระบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ด้วยระบบ หัวฉีดอิเล็คทรอนิคส์
ระบบเกียร์ ธรรมดา 5 สปีด
ระบบคลัทช์ ชนิดเปียกสั่งงานด้วยระบบไฮดรอลิค
ระบบขับเคลื่อน ขับเคลื่อนด้วยชุดเพลาขับ
ระบบเบรค
– ด้านหน้า ดิสค์เบรคคู่ แบบกึ่งตัวได้ ขนาด 320 มม. คาลิเปอร์ 4 ลูกสูบจาก NISSIN พ่วงด้วยระบบ ABS
– ด้านหลัง ดิสค์เบรค แบบตายตัว ขนาด 316 มม. คาลิเปอร์ 2 ลูกสูบและ ABS
ระบบกันสะเทือน
– ด้านหน้า โช๊คอัพหน้าแบบเทเลสโคปิคหัวกลับ ขนาด 43 มม. มีระยะการทำงาน 120 มม.
– ด้านหลัง โช๊คอัพคู่ มีระยะการยุบตัว 105 มม.ของ KYB ปรับตั้งได้เล็กน้อย
ความพิเศษของรุ่นนี้ ก็คือ ขุมกำลังเครื่องยนต์ ส่วนใหญ่เราจะเห็นแต่ 4 สูบ, 2 สูบ, 3 สูบ เรียงหน้ากระดาน แต่สำหรับ Rocket แล้วมันใช้เครื่องยนต์ 3 สูบ แถวเรียงตอนลึก ด้วยขนาดความจุถึง 2,294 ซีซี. ความกว้างกระบอกสูบ x ระยะชัก เท่ากับ 101.6 x 94.3 มม. ควบคุมการเปิดปิดวาล์วด้วยเพลาลูกเบี้ยวคู่ด้านบนเหนือฝาสูบ DOHC ระบายความร้อนด้วยหม้อน้ำและพัดลมไฟฟ้าที่ควบคุมด้วยเทอร์โมสตัท จ่ายเชื้อเพลิงด้วยหัวฉีดอิเล็คทรอนิคส์ ชุดเกียร์ธรรมดา 5 สปีด ระบบคลัทช์แบบเปียกสั่งงานด้วยสายสลิง สตาร์ทเครื่องยนต์ด้วยระบบไฟฟ้า และขับเคลื่อนด้วยชุดเพลาขับ ท่อไอเสียเป็นแบบ 3-1-2 เน้นความเงียบ แต่ถ้ากดคันเร่งจนรอบเครื่องยนต์ทำงานเต็มที่เสียงจะเปลี่ยนไปทันที เครื่องยนต์ชุดนี้มีม้ารอเรียกอยู่ถึง 148 ตัว ที่ 5,750 รอบ/นาที แรงบิดมาแบบโหดๆ เกินคำว่า “ตึงมือ” 221 นิวตัน-เมตร ที่ 2,750 รอบ/นาที มิติตัวรถ ยาว/กว้าง/สูง เท่ากับ 2,500/970/1,165 มม. ความสูงของเบาะนั่ง 750 มม. ระยะห่างฐานล้อ 1,695 มม. น้ำหนักรวมตัวรถ 367 กิโลกรัม ถังเชื้อเพลิงจุ 24 ลิตร วงล้อเป็นอัลลอย ล้อหน้า 3.5 x 17 นิ้ว ล้อหลัง 7.5 x 16 นิ้ว ยางหน้า 150/80-17 นิ้ว ยางหลัง 240/50-16 นิ้ว ตัวใหญ่สมชื่อ
ระบบช่วงล่างเน้นความนุ่มนวลและเกาะถนน เพราะจะต้องรับมือกับน้ำหนักตัวรถที่มากกว่า 300 กิโลกรัม ใช้โช๊คอัพหน้าแบบเทเลสโคปิคหัวกลับ ขนาด 43 มม. เป็นผลงานจาก KYB หรือ KAYABA มีระยะการทำงาน 120 มม. ด้านหลังเป็นโช๊คอัพคู่จาก KYB อีกเช่นกัน ระยะการยุบตัว 105 มม. ส่งผลให้รถมีความนิ่มนวลและเกาะถนนอย่างคาดไม่ถึง ชุดเบรคด้านหน้าเป็นจานเบรคคู่ชนิดกึ่งตัวได้ ขนาด 320 มม. คาลิเปอร์ 4 ลูกสูบจาก NISSIN พ่วงด้วยระบบ ABS จานเบรคหลังแบบตายตัว ขนาด 316 มม. คาลิเปอร์ 2 ลูกสูบและ ABS สาเหตุที่ต้องเพิ่มระบบ ABS ขึ้นมาก็เพื่อช่วยให้รถที่มีน้ำหนักมากๆ แบบนี้หยุดได้ดีขึ้น หากไม่มีระบบ ABS รถอาจจะเสียการทรงตัวถ้าเรากดเบรคอย่างเต็มที่ ซึ่งมันจะต่างจากรถที่มีระบบ ABS
รูปทรงโดยรวม ก็อยู่บนพื้นฐานของรถครูสเซอร์ทั่วไป เบาะนั่งใบหนาๆ ถังน้ำมันทรงหยดน้ำ แฮนด์บังคับทรงกว้าง ยกระดับเข้าหาตัวผู้ขับขี่ด้วยตุ๊กตาแฮนด์ ซึ่งตุ๊กตาแฮนด์นอกจากจะยึดจับแฮนด์กับแผงคอบนแล้ว ยังเป็นที่ติดตั้งเรือนไมล์ตูดกระสุนแบบคู่อีกด้วย จุดที่ต่างออกไปจากรถครูสเซอร์ทั่วๆ ไปก็น่าจะเป็น “ไฟหน้า” เพราะรถรุ่นนี้มาแบบยกคู่ ประกอบกับชิ้นงานใต้โคมไฟ.
รถไฟฟ้าที่น่าสนใจ...
แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับ " 2015 Triumph Rocket III Roadster ม้าเหล็ก พร้อมลุย "