
เครื่องยนต์ 4 จังหวะ 3 สูบ
ระบบระบายความร้อน หม้อน้ำ
ขนาดความจุ 1,330 ซีซี.
กระบอกสูบ x ระยะชัก 84 x 80 มม.
ระบบจ่ายเชื้อเพลิง แบบหัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์
ชุดเกียร์ แบบ 6 สปีด (แต่สามารถปรับตั้งได้ว่าจะใช้งานธรรมดา หรือกึ่งอัตโนมัติ)
คลัทช์ เป็นแบบเปียกสั่งงานด้วยระบบไฮดรอลิค
สตาร์ทเครื่องด้วย ระบบไฟฟ้า
แรงม้า 115 แรงม้าที่ 7,250 รอบ/นาที
แรงบิต สูงสุดอยู่ที่ 130 นิวตัน-เมตร ที่ 5,000 รอบ/นาที
ขับเคลื่อนด้วย สายพาน
เบาะนั่งสูงจากพื้น 675 มม.
ความสูงจากพื้นถึงตัวรถ 115 มม.
ระยะห่างฐานล้อ 1,709 มม.
น้ำหนักรถ 386 กก.
ถังเชื้อเพลิงความจุ 27 ลิตร
ตัวรถ กว้าง x ยาว x สูง 1,497 x 2,642 x 1,099 มม.
ระบบกันสะเทือนหน้า ช็อคเป็นแบบอิสระ Double A-arm ให้ระยะการทำงาน 128.9 มม.
ระบบกันสะเทือนหลัง ช็อคเดี่ยวหน้าตาใกล้เคียงกับของรถมอเตอร์ไซค์ เป็นผลงานของสำนัก SACHS ระยะการยุบตัว 132.4 มม.
ล้อหน้า วงล้ออัลลอย ยางหน้าขนาด 110/70-11 นิ้ว
ล้อหลัง วงล้ออัลลอย ยางหลังขนาด 120/70-11 นิ้ว
ขนาดยางหน้า 165/55 R 15 นิ้ว
ขนาดยางหลัง 225/50 R 15 นิ้ว (เป็นการคำนวนมาแล้วว่ารถขนาดนี้ต้องใช้ยางขนาดนี้)
ระบบเบรค
– ด้านหน้า 2 ฝั่ง ล้อหน้าด้านขวา และด้านซ้าย ใช้จานเบรคขนาด 270 มม. คาลิเปอร์ 4 ลูกสูบ เรเดี้ยลเมาล์ BREMBO สั่งงานด้วยระบบไฮดรอลิคจากก้านเบรคบนแฮนด์บังคับฝั่งขวา
– ด้านหลัง ใช้จานเบรคเดี่ยว ซุกตัวอยู่ในวงล้อ มาด้วยขนาดจานเบรค 270 มม. เทียบเท่ากันกับด้านหน้า แต่คาลิเปอร์ลดขนาดมาเป็น 1 ลูกสูบ สั่งงานด้วยระบบไฮดรอลิค โดยมีแป้นกระทืบเบรคหลังที่พักเท้าด้านขวา ชุดห้ามล้อของรุ่นนี้มีระบบ Parking Brake เอาไว้ใช้เวลาจอดรถร่วมอยู่ด้วย ไม่ต้องกังวลว่ารถจะไหลไปชนกับใคร
น่าคิดอยู่เหมือนกันว่า ทำไมถึงได้มีรถ 3 ล้อ (2 ล้อหน้า) เกิดขึ้นมาได้ Piaggio และ Yamaha ก็เริ่มผลิตรถ 3 ล้อ ออกมาจำหน่ายทำไมมันขี่ง่าย! อย่างแรกเลยก็คือ การวางท่านั่งทั้ง 2 ค่ายที่เพิ่งกล่าวถึงไป แม้จะถือกันคนละสัญชาติ แต่แนวคิดใกล้เคียงกัน คือ ความสูงของเบาะนั่งจากพื้นดิน เมื่อเรานั่งอยู่เหนือเครื่องยนต์อำนาจการควบคุมรถให้เลี้ยวซ้ายหรือขวาก็ทำได้ง่าย ๆ แค่การทิ้ง/ถ่ายน้ำหนักไปในด้านที่เราต้องการจะเข้าโค้ง ล้อหลังจะเอียงเข้าหาทางโค้งเครื่องยนต์จะเร่งสปีดเพื่อเพิ่มแรงหนีศูนย์
ลักษณะของรถ 3 ล้อ ในส่วนของระบบกันสะเทือนหน้า ส่วนมากจะแยกเป็นอิสระทั้งหมดออกจากกัน ขวาก็อยู่ส่วนขวา และซ้ายก็อยู่ในส่วนของซ้ายจะมีคานกลางทำหน้าที่ยึดระบบกันสะเทือนของทั้งสองฝั่งเอาไว้ให้ติดกับตัวรถหรือโครงสร้าง ซึ่งตรงจุดดุมล้อจะพิเศษตรงที่สามารถเอนหนีศูนย์ได้อีกเช่นกัน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าโค้ง แต่ถ้าเป็นรถคานแข็ง ยกตัวอย่าง “ซาเล้ง” มันจะไม่สามารถเข้าโค้งด้วยความเร็วสูง ๆ ได้เพราะรถจะพลิกคว่ำไปในที่สุดเนื่องจากจุดหมุนในการเลี้ยวไม่สามารถหนีศูนย์ได้ เพราะฉะนั้นการขี่รถ 3 ล้อ จึงไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่เข้าใจ
แต่ถ้าเป็น 3 ล้ออย่าง CAN-AM แบบของยางและวิธีการเลี้ยวจะต่างออกไป ดูกันง่าย ๆ คือ แนวระนาบของยางที่สัมผัสกับพื้นถนน หากเป็นของ CAN-AM จะมีลักษณะคล้ายกับยางของรถยนต์ เพราะฉะนั้น “ลืมภาพ” การทิ้งตัวโหนรถเข้าโค้งไปได้เลย แม้ว่าระบบกันสะเทือนจะใกล้เคียงกับรถ 3 ล้อทั่ว ๆ ไป แต่มันไม่สามารถหนีศูนย์ในการเลี้ยวได้มากและดีเท่ารถ 3 ล้อของค่ายอื่น ๆ จึงทำให้เวลาเลี้ยวจะใช้การหักแฮนด์บังคับ ลดความเร็วลงนิด ๆ แล้วเมื่อรถเข้ามาถึงกลางโค้งก็ค่อย ๆ เร่งความเร็วต่อไป ท้ายรถออกจะ Drift นิด ๆ ถ้าเป็นนักขี่ที่ชำนาญเรื่องการ Drift หรือการเข้าโค้งแบบท้ายกวาด ก็มักจะนิยมหักแฮนด์หนีทางโค้งนิด ๆ และกระแทกคันเร่งให้ท้ายรถทำหน้าที่กวาดไถลต่อไป แต่จะมีสักกี่คนที่ทำแบบนั้นได้จริง ๆ
การขับขี่ CAN-AM อารมณ์จะคล้าย ๆ รถยนต์แบบหลังคาเปิด เสียงเครื่องยนต์คำราม และการกำหนดความสูงของเบาะที่ต่ำลงมาทำให้เรารู้สึกถึงความเร็วมากยิ่งขึ้น ในทางตรง ๆ การแซงรถคันหน้า หรือใช้ความเร็วทำได้ง่าย ๆ จะมาหนักหนาสาหัสก็ตรงเวลาเจอโค้ง หากเป็นนักขี่มอเตอร์ไซค์แล้วเปลี่ยนใจไปขี่ 3 ล้อก็ขอให้ลืมความคิดเรื่องการแบนโค้งไปได้เลยเริ่มด้วยการลดระดับเกียร์ลง เบาความเร็วของคันเร่งลงหักแฮนด์ ปล่อยให้รถไหลเข้าไปตามทางโค้ง พอใกล้จะถึงจุดที่คนขี่มอเตอร์ไซค์เรียกว่า “จุดพับรถ” ก็ให้เดินคันเร่งเบาไปก่อน แต่ถ้าคุ้นมือรู้อาการแล้ว กระแทกไปเลยไม่ต้องยั้ง ยางด้านท้ายรถจะเบียดกับถนนจนเกิดการสไลด์หักแฮนด์หนีโค้งนิด ๆ แล้วใช้สายตามองให้สุดทางโค้งรับรองเลยว่าจะเป็นการ Drift ที่สวยงามสุด ๆ
ขอขอบคุณภาพจาก www.totalmotorcycle.com, www.motorcycle.com
รถไฟฟ้าที่น่าสนใจ...
แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับ " CAN-AM SPYDER F3 SPORT CRUISING 2015 มิติใหม่แห่งการขับขี่ "