FORD ค้นคว้านวัตกรรมเลียนแบบธรรมชาติโดยใช้ตุ๊กแกเป็นกรณีศึกษา
เดียร์บอร์น รัฐมิชิแกน, 17 พฤศจิกายน 2558 – ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี เดินหน้าพัฒนาแนวความคิดใหม่ๆ ค้นคว้าวิจัยนวัตกรรมเพื่อพัฒนาสารที่ใช้ยึดติดชิ้นส่วนภายในรถยนต์ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากตุ๊กแก โดยฟอร์ดได้ทำงานร่วมกับบริษัท พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล ในการค้นคว้าวิจัยดังกล่าว เนื่องจากทั้งสองบริษัทมีจุดมุ่งหมายเดียวกันในการค้นหาแนวทางใหม่ๆ สำหรับธุรกิจด้วยนวัตกรรมเลียนแบบธรรมชาติ
ทีมค้นคว้าวิจัยฟอร์ดได้พยายามเสาะหาแนวทางการผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์ให้มีความยั่งยืนมาเป็นเวลานานหลายปี ซึ่งความท้าทายของเราคือ การพัฒนาสารยึดติดหรือกาวที่ใช้สำหรับเชื่อมวัสดุประเภทโฟมให้เข้ากับพลาสติกและโลหะ เนื่องจากสารยึดติดที่ใช้อยู่ในปัจจุบันทำให้วัสดุไม่สามารถแยกออกจากกันเพื่อนำไปรีไซเคิลต่อได้
แนวความคิดจากตุ๊กแก
ผิวหนังบริเวณใต้เท้าของตุ๊กแกสามารถเกาะติดได้แทบทุกพื้นผิวโดยไม่ต้องอาศัยของเหลวหรือแรงตึงผิวใดๆ และสัตว์เลื้อยคลานจำพวกนี้ก็ยังสามารถเคลื่อนย้ายร่างกายโดยไม่ทิ้งร่องรอยไว้ด้วย นอกจากนี้ ตุ๊กแกซึ่งโตเต็มวัยและมีน้ำหนักประมาณ 2.5 ออนซ์ ยังสามารถแบกรับน้ำหนักได้ถึง 293 ปอนด์
“แรงบันดาลใจจากตุ๊กแกในการคิดค้นนวัตกรรมสารยึดติดให้กับฟอร์ดนี้ น่าจะทำให้เราสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ได้ทั่วโลก” เดบบี้ มีเลฟสกี หัวหน้าอาวุโสฝ่ายเทคนิคสำหรับพลาสติกและการค้นคว้าวิจัยเพื่อความยั่งยืนของฟอร์ด กล่าว
“การพัฒนาสารยึดติดแบบใหม่จะช่วยประหยัดทั้งค่าใช้จ่ายและการใช้ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม” มีเลฟสกีกล่าวเสริม “อีกทั้งยังช่วยให้เราเพิ่มอัตราการรีไซเคิลให้กับพลาสติกและโฟม ซึ่งจะช่วยลดรอยเท้าในเรื่องสิ่งแวดล้อม (Environmental Footprint) ได้อีกด้วย”
หลังจากที่ฟอร์ดได้รับแรงบันดาลใจในเรื่องแนวคิดนวัตกรรมเลียนแบบธรรมชาตินี้ จึงได้จัดการอภิปรายเรื่องดังกล่าวขึ้นที่สำนักงานเขตเดียร์บอร์น โดยร่วมกับบริษัท พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิลและสถาบันด้านนวัตกรรมการเลียนแบบธรรมชาติซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร และมีความมุ่งมั่นในการสนับสนุนการค้นคว้าอ้างอิงจากวิถีทางธรรมชาติ พร้อมมองหาแนวทางที่สามารถตอบโจทย์ความท้าทายต่างๆ ในยุคปัจจุบันได้อย่างยั่งยืน ทีมนักค้นคว้าวิจัยและนักออกแบบจำนวนเกือบ 200 ท่านได้เข้าร่วมการประชุมที่ยาวนานถึงหนึ่งวัน เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมการลอกเลียนแบบจากธรรมชาติและศึกษากลวิธีเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานของตน
“เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมการอภิปรายครั้งนี้กับฟอร์ด โดยฟอร์ดและเราได้ร่วมมือกันมาอย่างยาวนานในการจัดเวิร์คช็อปร่วมกับสถาบันด้านนวัตกรรมการเลียนแบบธรรมชาติ” ลี แอลเลน เดรชสเลอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายการติดต่อและพัฒนาองค์กร บริษัท พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล คัมปะนี กล่าว “พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล มีความสนใจในการศึกษาและประยุกต์ใช้แนวคิดการเลียนแบบธรรมชาติเพื่อขยายหนทางในการแก้ไขปัญหาอันแสนท้าทายที่เกิดขึ้นในระหว่างการค้นคว้าวิจัยต่างๆ ของเรา”
“แนวคิดการลอกเลียนแบบธรรมชาตินั้นไม่ใช่สิ่งใหม่ รถไฟความเร็วสูงซินคันเซ็นในประเทศญี่ปุ่นเองก็ได้รับแรงบันดาลใจจากนกกระเต็น แถบตีนตุ๊กแกก็ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเมล็ดพืชมีหนามที่มักติดมาตามเสื้อผ้า เข็มฉีดยาที่ใช้ทางการแพทย์ก็ได้รับการพัฒนามาจากยุง ความสนใจแนวคิดด้านนี้มีเพิ่มมากขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาประกอบกับความตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมที่พุ่งสูงขึ้น” เกร็ทเชน ฮุกเกอร์ ผู้จัดการโครงการความท้าทายด้านการออกแบบที่สถาบันด้านนวัตกรรมการลอกเลียนแบบจากธรรมชาติ กล่าว
สถาบันด้านนวัตกรรมการเลียนแบบธรรมชาติก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2549 ด้วยความมุ่งหวังที่จะสนับสนุนให้ผู้คนสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และการบริการที่ยั่งยืนโดยอาศัยนวัตกรรมการเลียนแบบธรรมชาติ สถาบันดังกล่าวนี้นอกจากจะช่วยสนับสนุนด้านความรู้ และการส่งผู้ชำนาญไปตามเครือข่ายสากลของสถาบันแล้ว ยังได้ช่วยจัดเตรียมแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้และฝึกฝนด้านการเลียนแบบธรรมชาติผ่านความท้าทายการออกแบบที่หลากหลายเหล่านี้รวมถึงนวัตกรรมแบบเปิดหรือการเปิดรับนวัตกรรมใหม่ๆ การร่วมมือขององค์กรและภาคการศึกษา และกิจกรรมท้าทายให้กับพนักงานและองค์กร โดยการจัดการฝึกอบรมควบคู่ไปกับการพัฒนาเพื่อค้นหาแนวทางใหม่ๆ สำหรับใช้แก้ไขปัญหาที่องค์กรกำลังประสบอยู่ เว็บไซต์ AskNature.org ซึ่งเป็นฐานข้อมูลออนไลน์ของกลุ่มค้นหาแนวทางโดยอ้างอิงจากข้อมูลทางด้านชีววิทยานี้ได้สร้างแรงบันดาลใจสำหรับผู้ที่มองหาคำตอบด้านนวัตกรรมการเลียนแบบธรรมชาติอีกด้วย
“ฟอร์ด และ พี แอนด์ จี เป็นบริษัทแรกๆ ที่ร่วมสร้างความท้าทายใหม่กับทั้งพนักงานและองค์กร” ฮุกเกอร์ กล่าว
นอกเหนือจากการรีไซเคิลแล้ว ทีมนักออกแบบฟอร์ดยังได้พยายามค้นคว้ามานานกว่าทศวรรษเพื่อคิดค้นเทคโนโลยีที่ได้รับแรงบันดาลใจจากธรรมชาติ และความสำเร็จล่าสุดที่ได้คือ การผลิตเส้นด้ายสำหรับวัสดุเบาะรถและผ้าคลุมเพดานด้านในรถ
ฟอร์ดเป็นบริษัทผลิตรถยนต์เพียงแห่งเดียวที่นำไฟเบอร์ตระกูล REPREVE คุณภาพสูงจากบริษัท ยูนิฟาย (Unifi) มาใช้ในรถยนต์ โดยวัสดุทั้งหมดนี้ทำมาจากผลิตภัณฑ์รีไซเคิลรวมถึงขวดพลาสติก ฟอร์ดได้ใช้ไฟเบอร์ตระกูล REPREVE สำหรับการผลิตรถยนต์ทั่วโลกรวม 5 รุ่น ได้แก่ ฟอร์ด เอฟ-150 ฟอร์ด เอ็กซ์พลอเรอร์ ฟอร์ด เอดจ์ ฟอร์ด โฟกัส อิเล็คทริค และฟอร์ด ฟิวชั่น การเลือกใช้ไฟเบอร์ตระกูล REPREVE นี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของฟอร์ดในการช่วยลดปริมาณ และลดอัตราการใช้วัสดุ และการช่วยรีไซเคิลชิ้นส่วนประกอบรถยนต์ สิ่งเหล่านี้นับเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของบริษัทรถยนต์ทั่วโลกในการร่วมกันลดรอยเท้าทางนิเวศน์
“ทีมนักออกแบบฟอร์ดกำลังมองหาแนวทางในการขยายเจตนารมณ์ที่จะศึกษาสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติและนำมาพัฒนาวัสดุที่ยั่งยืนในอุตสาหกรรมรถยนต์ การศึกษาข้อมูลจากตุ๊กแกอาจสร้างแรงบันดาลใจด้านเทคโนโลยีวัสดุผ้า และอาจนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงการออกแบบห้องโดยสารภายในของฟอร์ดได้ต่อไป” เหล่านักวิจัยกล่าว
“ขณะที่เราสานต่อความมุ่งมั่นในการลดอัตราการเกิดรอยเท้าในระบบนิเวศน์ การประยุกต์ใช้แนวทางแบบองค์รวมและการเลียนแบบธรรมชาตินี้เป็นแนวทางที่ประโยชน์อย่างมาก เพราะธรรมชาติทำให้การออกแบบเกิดประสิทธิภาพสูงสุดและสิ้นเปลืองทรัพยากรในปริมาณที่น้อยที่สุด” คารอล คอร์ดิช เจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์โครงสร้างยั่งยืนและการพัฒนาสากลที่ฟอร์ด กล่าว “ธรรมชาติคือคู่มือสำหรับการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ที่สุด”
รถไฟฟ้าที่น่าสนใจ...
รถยอดนิยม
Mazda 2 ราคาเริ่มต้น 546,000.
Mazda 3 ราคาเริ่มต้น 969,000.
Mazda CX-3 ราคาเริ่มต้น 769,000.
Nissan Almera ราคาเริ่มต้น 499,000.
Nissan Kicks ราคาเริ่มต้น 889,000.
Nissan Navara ราคาเริ่มต้น 599,000.
Honda City ราคาเริ่ม 579,500.
Honda City Hatchback ราคาเริ่ม 599,000.
Honda City e:HEV ราคา 839,000.
Honda Civic ราคาเริ่ม 874,000.
Mitsubishi Triton ราคาเริ่มต้น 539,000.
Mitsubishi Xpander ราคาเริ่มต้น 789,000.
Mitsubishi Pajero Sport ราคาเริ่มต้น 1,299,000.
Toyota Revo ราคาเริ่มต้น 544,000.
Toyota Yaris ATIV 4 ประตู ราคาเริ่มต้น 529,000.
Toyota Yaris 5 ประตู ราคาเริ่มต้น 539,000.
Toyota Corolla Cross ราคาเริ่มต้น 989,000.
Toyota Fortuner ราคาเริ่มต้น 1,319,000.
แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับ " FORD ค้นคว้านวัตกรรมเลียนแบบธรรมชาติโดยใช้ตุ๊กแกเป็นกรณีศึกษา "