FORD เผยผลสำรวจ พบผู้ขับขี่ไทยถ่ายเซลฟี่ขณะขับขี่สูงเป็นอันดับ 3
ในเอเชียและอีก 45% เล่นโซเชียลมีเดียขณะขับรถ
กรุงเทพฯ ประเทศไทย – 20 พฤษภาคม 2558 – ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี เผยผลวิจัยพฤติกรรมผู้ขับขี่ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พบว่าผู้ขับขี่จำนวนมากยังคงทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การส่งข้อความบนโทรศัพท์มือถือ รับประทานอาหาร เล่นโซเชียลมีเดีย หรือแม้แต่ถ่ายเซลฟี่ ในขณะขับรถ
ผู้ใช้รถใช้ถนนในฟิลิปปินส์กว่า 42% ยอมรับว่าเคยถ่ายเซลฟี่ขณะขับรถมาก่อน ซึ่งถือเป็นอัตราส่วนสูงสุดในภูมิภาคนี้ มากกว่าในประเทศจีน (31%) ไทย (30%) อินเดีย (23%) และออสเตรเลีย (7%)
ส่วนการใช้งานโซเชียลมีเดียขณะขับขี่ก็พบได้กว้างขวางไม่แพ้กัน โดยในประเทศจีน มีการใช้แอพ Weixin ส่งข้อความและแพลทฟอร์มโซเชียลมีเดีย Weibo ในขณะขับรถมากถึง 59% และ 36% ตามลำดับ ส่วนผู้ขับขี่ชาวอินเดียก็เลือกใช้โซเชียลมีเดียบนท้องถนนราว 27% ขณะที่ประเทศฟิลิปปินส์ ไทย และออสเตรเลีย มีอัตราการใช้เฟซบุ๊คขณะขับขี่อยู่ที่ 48% 45% และ 16% ตามลำดับ
สำหรับกิจกรรมอื่นๆ ที่ดึงความสนใจของผู้ขับขี่ไปจากท้องถนน ได้แก่ไลน์และแอพแชทอื่นๆ ที่ใช้กันในขณะขับขี่ซึ่งมีมากถึง 47% ในประเทศไทย ส่วนในอินเดีย พบว่าผู้ขับขี่กว่า 56% สนทนาทางโทรศัพท์ในขณะขับขี่ ขณะที่อีกกว่า 40% รับประทานอาหารและเครื่องดื่มไปด้วย และอีก 55% มักเอื้อมมือไปเปิด-ปิดเพลงขณะขับรถ
ฟอร์ดได้มุ่งมั่นค้นคว้าเพื่อหาแนวทางจัดการกับกิจกรรมที่เบี่ยงเบนความสนใจของผู้ขับขี่มาแล้วกว่าหนึ่งทศวรรษ และได้พัฒนา เทคโนโลยี ฟอร์ด ซิงค์ ซึ่งเป็นระบบเชื่อมต่อตัวรถเข้ากับอุปกรณ์ต่างๆ ที่พร้อมรับคำสั่งด้วยเสียง ซึ่งได้รับการพิสูจน์ว่า สามารถช่วยให้ผู้ขับขี่มุ่งความสนใจไปที่ท้องถนนได้ แม้ขณะใช้งานโทรศัพท์มือถือหรือเครื่องเสียงในรถ ทีมวิจัยของฟอร์ดพบว่า ซิงค์ช่วยลดเวลาที่ผู้ขับขี่ละสายตาไปจากท้องถนนข้างหน้าได้มาก ทั้งยังช่วยลดการเบนรถออกนอกเลนโดยไม่ได้ตั้งใจ เสริมการรักษาความเร็วขณะขับขี่ให้นิ่งกว่าเดิม และยังทำให้ผู้ขับขี่สามารถตอบโต้กับวัตถุหรือเหตุการณ์ไม่คาดฝันบนท้องถนนได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เมื่อเทียบกับการใช้อุปกรณ์พกพาต่างๆ โดยไม่เชื่อมต่อกับซิงค์
“ฟอร์ดพยายามที่จะค้นหาคำตอบสำหรับปัญหาการเบี่ยงเบนความสนใจของผู้ขับขี่มานานกว่าสิบปีแล้ว โดยเราได้สร้างสรรค์นวัตกรรมมาเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน สำหรับผู้ขับขี่ที่ใช้โทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์ไร้สายประเภทอื่นๆ ขณะขับขี่” พีท ฮาร์ดิแกน ผู้อำนวยการฝ่ายงานวิศวกรรมเพื่อความยั่งยืน สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยของฟอร์ด เอเชียแปซิฟิก กล่าว
นอกจากนี้ ฟอร์ดยังเป็นผู้บุกเบิกในด้านการให้ความรู้กับผู้ใช้รถใช้ถนน ภายใต้โครงการ Driving Skills for Life ซึ่งได้ช่วยฝึกสอนผู้ขับขี่ไปแล้วกว่า 90,000 คนใน 300 เมืองทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยโครงการดังกล่าวเริ่มจัดตั้งขึ้นในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2546 ก่อนที่จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในแถบนี้เมื่อปี 2551 เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการขับขี่อย่างปลอดภัยให้ผู้ขับมือใหม่ได้ทราบกันอย่างทั่วถึง และเมื่อปี 2557 ที่ผ่านมา ฟอร์ดได้ขยายโครงการนี้เข้าไปสู่ประเทศมาเลเซียและเมียนมาร์ โดยในภาพรวม โครงการ Driving Skills for Life ได้ฝึกสอนผู้ขับขี่ไปแล้วกว่า 10,687 คนใน 37 เมือง 9 ประเทศทั่วเอเชียแปซิฟิกในปีที่ผ่านมา สำหรับประเทศไทย ฟอร์ดได้มีการจัดอบรมโปรแกรม DSFL ต่อเนื่องปีนี้เป็นปีที่ 8 โดยจัดอบรมให้กับผู้สนใจทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และประชาชนทั่วไป ไปแล้วกว่า 8,000 ราย โดยผู้เข้าอบรมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าอบรม โดยสามารถติดตามข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับโครงการในประเทศไทยได้ที่เว็บไซต์ www.ford.co.th หรือ เฟซบุ๊ค ฟอร์ด ประเทศไทย
“เราเชื่อมั่นว่าการให้ความรู้อย่างต่อเนื่องจะช่วยให้ผู้ขับขี่เข้าใจถึงความสำคัญของการมีสมาธิในการควบคุมรถ ไม่ปล่อยมือจากพวงมาลัย และไม่ละสายตาจากท้องถนน” ฮาร์ดิแกน กล่าวเสริม
รถไฟฟ้าที่น่าสนใจ...
รถยอดนิยม
Mazda 2 ราคาเริ่มต้น 546,000.
Mazda 3 ราคาเริ่มต้น 969,000.
Mazda CX-3 ราคาเริ่มต้น 769,000.
Nissan Almera ราคาเริ่มต้น 499,000.
Nissan Kicks ราคาเริ่มต้น 889,000.
Nissan Navara ราคาเริ่มต้น 599,000.
Honda City ราคาเริ่ม 579,500.
Honda City Hatchback ราคาเริ่ม 599,000.
Honda City e:HEV ราคา 839,000.
Honda Civic ราคาเริ่ม 874,000.
Mitsubishi Triton ราคาเริ่มต้น 539,000.
Mitsubishi Xpander ราคาเริ่มต้น 789,000.
Mitsubishi Pajero Sport ราคาเริ่มต้น 1,299,000.
Toyota Revo ราคาเริ่มต้น 544,000.
Toyota Yaris ATIV 4 ประตู ราคาเริ่มต้น 529,000.
Toyota Yaris 5 ประตู ราคาเริ่มต้น 539,000.
Toyota Corolla Cross ราคาเริ่มต้น 989,000.
Toyota Fortuner ราคาเริ่มต้น 1,319,000.
แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับ " FORD เผยผลสำรวจ พบผู้ขับขี่ไทยถ่ายเซลฟี่ขณะขับขี่สูงเป็นอันดับ 3 ในเอเชียและอีก 45% เล่นโซเชียลมีเดียขณะขับรถ "