รีวิว เปรียบเทียบ Honda Click 160 VS Honda Click 125
รถมอเตอร์ไซต์ออโตเมติกเป็นมอเตอร์ไซต์ที่ผู้คนเข้าถึงได้มากที่สุด ด้วยความง่ายในการขับขี่ ประโยชน์ใช้สอยที่หลากหลาย และมีความคล่องตัวในการใช้งาน ซึ่งก็มีการพัฒนาด้านระบบความปลอดภัย ความสนุกในการขับขี่ และเทคโนโลยีต่าง ๆ เรื่อยมา
ในวันนี้ 9carthai จะพาเพื่อน ๆ มาเปรียบเทียบรถจากค่ายเดียวกันนั้นก็คือ Honda Click 160 และ Honda Click 125 ในรุ่น Top กันครับ
ราคา
Click 125 | |
63,500 (ล้อแม็ก + Combine break) | 51,900 (ล้อซี่ลวด + Combine break) |
69,900 (ล้อแม็ก + ABS break) | 56,900 (ล้อแม็ก + Combine break) |
ข้อมูลทางเทคนิค
รุ่น | Click 160 | |
เครื่องยนต์ | ||
เครื่องยนต์ | eSP+ 1 สูบ 4 วาล์ว SOHC ระบายความร้อนด้วยน้ำ | eSP 1 สูบ 4 วาล์ว SOHC ระบายความร้อนด้วยน้ำ |
ปริมาตรกระบอกสูบ | 156.9 ซีซี | 124.88 ซีซี |
กระบอกสูบ × ช่วงชัก (มม.) | 60 × 55.5 | 52.4 x 57.9 |
อัตราส่วนกำลังอัด | 12 : 1 | 10.0 : 1 |
แรงม้าสูงสุด | 15.4 แรงม้า ที่ 8,500 รอบ/นาที | – |
แรงบิดสูงสุด | 13.4 นิวตันเมตร ที่ 7,000 รอบ/นาที | – |
ระบบเกียร์ | CVT | CVT |
ระบบขับเคลื่อน | สายพาน | สายพาน |
ความจุถังน้ำมันเชื้อเพลิง (ลิตร) | 5.5 | 5.5 |
อัตราการบริโภคเชื้อเพลิง | 47.6 กม./ลิตร | 50.0 กม./ลิตร |
โครงรถ | ||
เฟรม | อันเดอร์โบน eSAF | อันเดอร์โบน |
ระยะฐานล้อ (มม.) | 1,280 | 1,280 |
ระยะห่างจากพื้นถึงเครื่องยนต์ (มม.) | 140 | 142 |
กว้าง × ยาว × สูง (มม.) | 679 × 1,929 × 1,088 | 679 x 1,921 x 1,064 |
ความสูงเบาะ (มม.) | 778 | 769 |
น้ำหนัก (กก.) | 115 | 110 |
ระบบกันสะเทือน | ||
หน้า | เทเลสโคปิค | เทเลสโคปิค |
หลัง | ยูนิตสวิง สปริงเดี่ยว | ยูนิตสวิง สปริงเดี่ยว |
ระบบเบรก | ||
เบรกหน้า | ดิสก์เบรกเดี่ยว (Combine/ABS) | ดิสก์เบรกเดี่ยว (Combine) |
เบรกหลัง | ดรัมเบรก/ดิสก์เบรก (รุ่นABS) | ดรัมเบรก |
ยาง/ล้อ | ||
ล้อหน้า | 110/80 R14 (tubeless) | 80/90 R14 (tubeless) |
ล้อหลัง | 120/70 R14 (tubeless) | 90/90 R14 (tubeless) |
ชนิดวงล้อ | แม็ก | แม็ก/ซี่ลวด |
เครื่องยนต์
มากับเครื่องยนต์พิกัด 125 ซีซี แม้จะไม่โดดเด่นในช่วงความเร็วปลาย แต่แรงบิดในช่วงต้น 0 – 80 กม./ชม. ถือว่าทำได้ดี เร่งแซงได้เพียงพอต่อการใช้งาน ที่สำคัญคือมีความประหยัดน้ำมันมากโดยเคลมไว้ที่ 50 กม./ลิตร ขับขี่จริงได้อยู่ปะมาณ 45 กม./ลิตร
มากับเครื่องยนต์ตัวใหม่พิกัด 160 ซีซี ด้วยความจุที่มากกว่าทำให้มีความแรงเพิ่มขึ้น โดยช่วงต้นจะมีความนุ่มนวล และจะแรงขึ้นในช่วงกลางที่ความเร็ว 20 กม./ชม. ขึ้นไปจะพบความแตกต่างจากรุ่นน้องชัดเจน ดึงสนุกกว่ามาก ทำให้กินน้ำมันมากกว่าเล็กน้อยอยู่ที่ 40 กม./ลิตรขึ้นไป
ชุดไฟหน้า
หากสังเกตให้ดีจะพบว่า ทั้งคู่มีชุดไฟหน้าที่คล้ายกันมาก ซึ่งมาเป็น LED พร้อมไฟ DRL แต่จะแตกต่างกันในชิ้นสุดครอบไฟหน้าและบังลมต่าง ๆ โดย Honda Click 125 (ซ้าย) จะมีชุดบังลมด้านหน้าที่ดูเล็กและแคบกว่า ส่วน Honda Click 160 จะมีด้านหน้าที่ดูกว้างใหญ่มากขึ้น
ถึงแม้จะกว้างกว่าแต่ก็ไม่ได้ส่งผลต่อความคล่องตัวในช่วงรถติดเลย โดยรวมแล้วถือว่าสวยงามทั้งคู่
ชุดไฟท้าย
Honda Click 125 มากับโคมไฟแบบเป็นก้อนเดียวเอกลักษณ์ มองเห็นได้ชัดเจน และมีจุดที่เหมือนกันคือบังโคลนและก้านไฟเลี้ยวแบบ LED
Honda Click 160 จะมีความแตกต่างกันเล็กน้อยที่โคม ปรับปรุงโคมไฟให้แตกต่างในรูปตัว X ดูโฉบเฉี่ยวและมองเห็นได้ชัดเจน มีบังโคลนและก้านไฟเลี้ยวแบบ LED เหมือนตัวรุ่นน้อง
ตรงนี้จะสังเกตได้ว่า ทั้งสองรุ่นได้รับแรงบันดาลใจในการออกแบบด้านหน้าและหลังจากรถสปอร์ตรุ่นพี่อย่าง CBR ชัดเจน
แผงหน้าจอแสดงข้อมูล
Honda Click 125 และ Honda Click 160 มีหน้าจอ Full LCD คล้ายกัน โดยบอกข้อมูลมาตรวัดความเร็ว รอบเครื่องยนต์ น้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือ จับทริป นาฬิกา อัตราสิ้นเปลืองโดยเฉลี่ย และไฟบอกสถานะต่าง ๆ มองเหนได้ชัดเจนครบถ้วน
ช่องเก็บของด้านหน้ารถ
Click 125 มีช่องเก็บของ 2 ฝั่งซ้ายขวาแบบไม่มีฝาปิดมาให้ ตรงกลางมีที่เกี่ยวของให้มาเหมือนกัน และทางขวาสุดมีชุดเสียบกุญแจ โดยในรูปเป็นรุ่นเริ่มต้นซึ่งจะได้กุญแจแบบธรรมดา หากเป็นรุ่น Top จะได้กุญแจ Key-less เหมือนรุ่นพี่
Click 160 จะมีช่องเก็บของด้านซ้ายแบบมีฝาปิดมาให้ ด้านในมีช่องจ่ายไฟแบบ USB type A สามารถเสียบไฟให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ได้ และยังมีช่องเก็บของด้านขวาแบบไม่มีฝาปิดอีกช่องหนึ่ง มีชุดกุญแจ Key-less อยู่ตำแหน่งเดียวกัน
พื้นที่ใต้เบาะ
Click 125 มีพื้นที่ใต้เบาะใกล้เคียงกับรุ่นพี่ ใส่หมวกแบบครึ่งใบได้และแบบเต็มใบได้บางรุ่น แต่สังเกตว่าด้านล่างจะเว้าขึ้นมาไม่สูงเหมือนรุ่นพี่
Click 160 มีพื้นที่ใต้เบาะ 18 ลิตร สามารถเก็บหมวกแบบครึ่งใบได้และแบบเต็มใบได้บางรุ่น ด้านล่างเว้าขึ้นมาสูงกว่ารุ่นน้องเล็กน้อย โดยรวมแล้วสามารถเก็บของได้พอกัน
ท่านั่งการขับขี่
Click 125 มีความสูงเบาะอยู่ที่ 769 มม. ไม่แตกต่างกันมาก แต่พักเท้าจะแคบกว่าเล็กน้อย แต่ก็ถือว่าเพียงพอต่อการใช้งาน ในส่วนของเบาะนั่งจะมีที่สำหรับคนขับพอดี ๆ ทำให้มีที่เหลือเยอะสำหรับคนซ้อน และตัวเบาะไม่แข็งมาก นั่งนาน ๆ ไม่เมื่อย
Click 160 มีความสูงเบาะอยู่ที่ 778 มม. ใกล้เคียงกับรุ่นน้อง แต่มีพักเท้าที่กว้างกว่า สามารถขยับเพื่อวางสิ่งของได้เป็นอย่างดี ตัวเบาะนั้นออกแบบให้มีความสปอร์ตแข็ง นั่งนาน ๆ อาจปวดเมื่อยได้ เบาะผู้ซ้อนไม่กว้างมากเท่ารุ่นน้อง คนตัวใหญ่นั่งไม่ค่อยสบาย
ระบบเบรก
Click 125 ด้านหน้าเป็นดิสก์เบรก ด้านหลังเป็นดรัมเบรก มีระบบ Combine Break ช่วยทำให้หยุดรถได้มั่นใจขึ้น
Click 160 มีมาสองรุ่น โดยในรุ่น STD จะมีระบบ Combine break ช่วงกระจายแรงเบรกไปยังดิสก์เบรกหน้าและดรัมเบรกหลัง และในรุ่น ABS จะมีระบบกันล้อล็อกที่ล้อหน้า ซึ่งให้มาเป็นดิสก์เบรกทั้งหน้า-หลัง
ระบบกันสะเทือน
Click 125 ด้านหน้าเป็นแบบเทเลสโคปิค ด้านหลังเป็นสปริงเดี่ยว ให้ความรู้สึกอยู่ตรงกลางค่อนไปทางแข็ง เข้าโค้งได้มั่นใจ ไม่อ่อนยวบจนเกินไป
Click 160 ด้านหน้าเป็นแบบเทเลสโคปิค ด้านหลังเป็นสปริงเดี่ยว ให้ความรู้สึกที่แข็งมากกว่ารุ่นน้อง ขับขี่นาน ๆ ไม่สบายโดยเฉพาะเมื่อเจอหลุมบ่อถือว่าแข็งมาก แต่มีข้อดีคือขี่ในความเร็ว 80 กม./ชม.ได้อย่างมั่นคง และเข้าโค้งได้มั่นใจ
สรุปจุดเด่น
Click 125
Click 160
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ 9Carthai
รถไฟฟ้าที่น่าสนใจ...
รถยอดนิยม
Mazda 2 ราคาเริ่มต้น 546,000.
Mazda 3 ราคาเริ่มต้น 969,000.
Mazda CX-3 ราคาเริ่มต้น 769,000.
Nissan Almera ราคาเริ่มต้น 499,000.
Nissan Kicks ราคาเริ่มต้น 889,000.
Nissan Navara ราคาเริ่มต้น 599,000.
Honda City ราคาเริ่ม 579,500.
Honda City Hatchback ราคาเริ่ม 599,000.
Honda City e:HEV ราคา 839,000.
Honda Civic ราคาเริ่ม 874,000.
Mitsubishi Triton ราคาเริ่มต้น 539,000.
Mitsubishi Xpander ราคาเริ่มต้น 789,000.
Mitsubishi Pajero Sport ราคาเริ่มต้น 1,299,000.
Toyota Revo ราคาเริ่มต้น 544,000.
Toyota Yaris ATIV 4 ประตู ราคาเริ่มต้น 529,000.
Toyota Yaris 5 ประตู ราคาเริ่มต้น 539,000.
Toyota Corolla Cross ราคาเริ่มต้น 989,000.
Toyota Fortuner ราคาเริ่มต้น 1,319,000.
แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับ " รีวิว เปรียบเทียบ Honda Click 160 VS Honda Click 125 "