รีวิว Honda Forza 350 ใช้งานจริงเป็นอย่างไร? เทียบกับคันเก่า Forza 300 แล้วต่างขนาดไหน ไปดูกัน
หากจะพูดถึงรถ Big Scooter ในเวลานี้ คงไม่มีรุ่นใดร้อนแรง และเป็นกระแสไปกว่า Honda Forza 350 อีกแล้ว โดยหลังจากที่เปิดตัวอย่างเป็นทางการที่งาน Motor Show 2020 ที่ผ่านมา ก็ยังคงสร้างกระแส talk of the town ได้อย่างต่อเนื่อง และสร้างยอดขายที่ต้องบอกว่าผลิตไม่ทันกันเลยทีเดียว
สำหรับ Honda Forza 350 ที่คุณกำลังจะได้รับชมรีวิวนี้ เป็นรถส่วนตัวของผู้เขียนเอง ซึ่งก่อนหน้านี้ผู้เขียนก็มีประสบการณ์โดยตรง ใช้ Honda Forza 300 เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงมั่นใจได้เลยว่าบทความรีวิวครั้งนี้
คุณจะได้ข้อมูลและรายละเอียดที่เจาะลึก พร้อมเทียบความแตกต่างระหว่างโฉม 300 กับ 350 ได้อย่างตรงจุดแน่นอน
ก่อนอื่นต้องขอเท้าความให้ฟังก่อนว่า ก่อนที่จะตัดสินใจเป็นหนี้อีกรอบ ผู้เขียนก็ได้ค้นคว้าหาข้อมูล และมีโอกาสได้สัมผัสกับ Honda Forza 350 มาแล้วครั้งหนึ่งในกิจกรรมทดสอบขับขี่ที่ A.P. Honda จัดขึ้น
ซึ่งก่อนหน้านั้นผมเองก็มีความสงสัยเหมือนหลายๆ ท่านว่า โฉม 300 กับ 350 ไม่เห็นจะมีอะไรที่แตกต่างกันเลย นอกจากขนาด cc. ที่เพิ่มขึ้น
แต่ทว่าหลังจากที่ได้สัมผัสมาแล้ว ผมต้องขอถอนคำพูด และตัดสินใจซื้อ Honda Forza 350 อย่างไม่ลังเลใจ แต่สิ่งใดที่ทำให้ผมกล้าตัดสินใจได้ขนาดนี้ ในบทความนี้มีคำตอบ!
สำหรับดีไซน์ภายนอกของ Honda Forza 350 นั้น หากมองผ่านๆ ก็ดูคล้ายกับโฉม Forza 300 ไม่เปลี่ยนแปลง แต่ถ้าหากเจาะลึกลงไปในรายละเอียด ก็จะพบว่ามีรายละเอียดที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยกันในหลายจุด เริ่มจาก
ชุดแฟริ่งด้านหน้าที่ออกแบบเส้นสายใหม่ พร้อมเจาะทำเป็นช่อง Air Duct ปล่อยให้อากาศไหลผ่านได้ ซึ่งจุดนี้นอกจากจะช่วยเพิ่ม Aerodynamic และความสวยงามแล้ว ยังส่งผลต่อสมรรถนะการขับขี่อีกด้วย ซึ่งจะช่วยลดแรงลมต้านด้านหน้า อันเป็นเหตุให้เกิดอาการหน้าส่ายในโฉม 300 ซึ่งจุดนี้ทาง Honda ตั้งใจแก้ไขมาให้เรียบร้อยแล้ว
ส่วนตัวบังชิลด์หน้ามีการปรับเปลี่ยนดีไซน์ใหม่ให้มีความสปอร์ตเร้าใจมากยิ่งขึ้น อีกทั้งชิลด์หน้ายังมีการปรับเพิ่มสูงขึ้นไปเป็น 150 มม. (จากเดิม 110 มม.) ซึ่งช่วยมอบความสะดวกสบาย และลดแรงลมปะทะขณะขับขี่ได้เป็นอย่างดี สาย Touring น่าจะถูกใจ เพราะช่วยลดความเหนื่อยล้าในการขับขี่เดินทางไกล
*สำหรับชิลด์หน้าผู้เขียนได้เปลี่ยนเป็นของแต่ง ซึ่งขออนุญาตนำภาพจากบทความเก่ามาใส่แทน เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน
ในส่วนของช่องเก็บของด้านหน้า ภายในได้มีการเปลี่ยนจุดเสียบชาร์จรูปแบบใหม่ ให้เป็นแบบ USB Type-C เพื่อรองรับกับอุปกรณ์ และสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆ ที่หันมานิยมใช้แบบ Type-C มากขึ้น (แต่ถ้าใครมองว่าไม่สะดวก ก็หาตัวแปรมาเสียบแทนได้)
ส่วนชุดแฟริ่งด้านข้างก็มีการปรับเส้นสายใหม่เล็กน้อย พร้อมเปลี่ยนวัสดุมือจับผู้ซ้อนท้ายใหม่ให้มีน้ำหนักที่เบากว่าโฉม Forza 300 เพื่อช่วยลดแรงกดด้านท้าย
ส่วนไฟท้ายยกมาจากโฉม Forza 300 ทั้งชุด ที่เป็นแบบ Full LED พร้อมติดตั้งระบบไฟเบรกฉุกเฉิน ESS มาให้พร้อมจากโรงงาน
ด้านเรือนไมล์มีการปรับดีไซน์ใหม่เล็กน้อย ด้วยการเพิ่มเส้นสายของโครเมียมเข้าไปที่ส่งเสริมให้มีความพรีเมียมมากยิ่งขึ้น ซึ่งยังคงบอกรายละเอียดการทำงานของเครื่องยนต์ผ่านจอ LCD เหมือนเช่นเคย โดยมาตรวัดความเร็ว และรอบเครื่องยนต์จะเป็นแบบเข็มที่ให้อารมณ์สปอร์ต
ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง, อุณหภูมิความร้อนเครื่องยนต์, อุณหภูมิอากาศภายนอก, กระแสไฟแบตเตอรี่, ทริปจับระยะทาง 2 ช่อง (Trip A, Trip B), ระยะทางที่สามารถขับขี่ต่อไปได้ (คำนวณจากน้ำมันเชื้อเพลิงที่เหลืออยู่), อัตราสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงโดยเฉลี่ย จะแสดงผลแบบดิจิตอลที่หน้าจอ LCD ตรงกลาง
อีกทั้งยังมีระบบไฟแจ้งเตือนการทำงานของระบบ ABS และ HSTC (Honda Selectable Torque Control) ให้อีกด้วย
มิติตัวถังของ Honda Forza 350
ด้านระบบช่วงล่าง หากจะบอกว่ายกมาจากโฉม Forza 300 ก็คงไม่ผิด แต่ทว่าทางฝ่ายผลิตภัณฑ์ของ A.P. Honda ระบุว่า มีการปรับเซ็ทน้ำมันในโช้คอัพหน้าใหม่ ที่เป็นแบบเทเลสโคปิคให้มีความนุ่มนวล และหนึบยิ่งขึ้น ส่วนโช้คอัพหลังยังคงเป็นแบบโช้คอัพคู่ยูนิตสวิง ที่สามารถปรับค่าความแข็ง-อ่อนได้ 5 ระดับเหมือนโฉม Forza 300
ส่วนระบบเบรกนั้นยังคงเป็นแบบดิสก์เบรกทั้งหน้า-หลัง โดยด้านหน้าจะทำงานร่วมกับปั้มเบรก Nissin 2 Pot ส่วนด้านหลังจะเป็น Nissin 1 Pot ซึ่งมาพร้อมระบบเบรก ABS Dual-Channel
ล้อแม็กด้านหน้าขนาด 15 นิ้ว รัดด้วยยาง IRC ขนาด 120/70-15 และล้อแม็กด้านหลังขนาด 14 นิ้ว รัดด้วยยาง IRC ขนาด 140/70-14 ซึ่งเป็นยางแบบ Tubeless (ไม่มียางใน)
หัวใจสำคัญของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ก็คือ ขุมพลังใหม่! ซึ่งเป็นเครื่องยนต์บล็อคใหม่ที่พัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น มาในชื่อ eSP+ แบบ 1 สูบ SOHC 4 วาล์ว ระบายความร้อนด้วยน้ำ
โดยขุมพลังใหม่นี้ มีการเพิ่มบาลานซ์เซอร์ที่ข้อเหวี่ยงใหม่ ซึ่งช่วยให้การหมุนของเครื่องยนต์สมูทมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งอัปเกรดขนาดลูกสูบขึ้นไปเป็น 77 มม. (โฉมเก่า 72 มม.) และปรับระยะช่วงชักเป็น 70.7 มม. (โฉมเก่า 68.6 มม.) ทำให้ได้ขนาดความจุขึ้นไปเป็น 329.60 ซีซี. (จากเดิม 279 ซีซี. เพิ่มขึ้น 50 ซีซี.) และมากกว่าคู่แข่งอย่าง Yamaha XMAX 300 ที่มีความจุอยู่ที่ 292cc. ด้วย
นอกจากนั้นแล้ว ในส่วนของฝาสูบมีการเปลี่ยนมาใช้กระเดื่องวาล์วแบบโรลเลอร์ยูนิแคม ที่ช่วยลดแรงเสียดทาน อีกทั้งยังขยายหม้อกรองอากาศให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 5.5 ลิตร
เช่นเดียวกับในส่วนของท่อไอเสีย ที่เปลี่ยนมาใช้คอท่อแบบสแตนเลสที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ช่วยให้การเผาไหม้และการระบายไอเสียทำได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ปิดท้ายที่ในส่วนของระบบส่งกำลัง ยังทำการอัปเกรดชชุดคลัทช์ใหม่เป็น 5 ก้อน (จากเดิม 3 ก้อน) ที่ให้การถ่ายเทกำลังลงสู่พื้นได้ดียิ่งขึ้น และช่วยลดอาการออกตัวสั่นที่เป็นปัญหาจากโฉม Forza 300 ได้อย่างหมดจด
และอีกหนึ่งปัญหาที่พบเจอบ่อยในรุ่น Forza 300 ที่ทาง Honda ได้แก้ไขมาในรุ่น Honda Forza 350 ก็คือปัญหาความร้อนของเครื่องยนต์
ซึ่งในโฉม Forza 300 นั้น เดิมทีตำแหน่งของหม้อน้ำจะติดตั้งไว้ที่ด้านหน้าเครื่องยนต์ ซึ่งรับลมปะทะได้น้อย ระบายความร้อนไม่ทัน โดยใครที่เคยใช้งานจะรู้เลยว่า U-Box มีความร้อนสะสมเยอะมาก
แต่สำหรับรุ่น All-New Honda Forza 350 นั้น ทาง Honda ได้มีการย้ายตำแหน่งมาไว้ที่ด้านหลังล้อหน้า ซึ่งเป็นจุดที่สามารถรับลมปะทะได้เต็มๆ อีกทั้งยังมีการขยายขนาดพัดลมหม้อน้ำใหม่ให้ใหญ่ขึ้น ซึ่งจุดนี้ช่วยลดความร้อนสะสมของเครื่องยนต์ได้ดีกว่าเดิมเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังส่งเสริมในเรื่องของบาลานซ์รถ และการถ่ายเทน้ำหนักตัวรถ เพราะมีการกระจายน้ำหนักด้านหน้า-ด้านหลังที่เหมาะสมยิ่งขึ้น ส่งผลให้มีประสิทธิภาพการทรงตัว และการขับขี่ที่ดีขึ้นตามมานั่นเอง
สำหรับท่าทางการนั่ง และการควบคุมรถขณะจอดนิ่ง อันนี้บอกตรงๆ ว่าเป็นปัญหาสำหรับผู้ที่สูงไม่ถึง 170 ซม. อย่างแน่นอน แม้ว่าตามสเปค Honda Forza 350 จะมีความสูงของเบาะนั่งแค่เพียง 780 มม. ก็ตาม แต่ทว่าด้วยความกว้างขวางเบาะที่ออกแบบมาเพื่อให้นั่งได้อย่างสบาย เลยทำให้จำเป็นต้องกางขาออกมากกว่าปกติ ขาทั้ง 2 ข้างจึงไม่สามารถเหยียบได้อย่างเต็มพื้น อีกทั้งตัวรถค่อนข้างหนัก ซึ่งจุดนี้ต้องใช้ความระมัดระวังในการจอด หรือขยับรถในที่ต่างๆ
ส่วนท่าทางการขับขี่ จุดนี้บอกเลยว่า Honda Forza 350 เป็นรถที่ขี่สบายที่สุดแล้วในคลาสนี้ ตำแหน่งของแฮนด์ และเบาะนั่งมีความกระชับ รองรับทุกสรีระได้ดี ท่าทางการนั่งอยู่ในท่าที่สบาย ขี่ไกลๆ ไม่ปวดหลัง
เมื่อทราบถึงสเปค และรายละเอียดทั้งหมดที่เปลี่ยนแปลงมาในโฉม Honda Forza 350 กันแล้ว ก็ถึงคราวพิสูจน์สมรรถนะการขับขี่จริงกันบ้าง ว่ามันดีกว่าเดิมขนาดไหน
ด้านอัตราเร่ง บอกเลยว่ามีความแตกต่าง และดีขึ้นกว่าโฉม 300 อย่างรู้สึกได้ อัตาเร่งในช่วงออกตัวมาไวกว่า บิดติดมือ ออกตัวไม่สั่น (หรือสั่นน้อยลง) ขี่สนุกมากยิ่งขึ้น โดยอัตราเร่งจะมาแบบนุ่มๆ แต่ว่ารถพุ่งได้ดี อัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. ใช้เวลาเพียง 9 วินาที ส่วนความเร็วกลาง – ปลาย ก็ทำได้ดีขึ้น โดยความเร็วช่วง 80 – 120 กม./ชม. ใช้ระยะเวลาที่สั้นลง ส่วนความเร็วสูงสุดทำได้เกือบจมไมล์ โดยหน้าปัดชี้ไปที่ 157 กม./ชม.
โดยอัตราเร่งนี้ อ้างอิงจากคลิปวีดีโอทดสอบของพี่ จอห์นไรเดอร์ – Johnrider
ซึ่งถ้าเอาไปเทียบกับ Yamaha XMAX 300 ต้องบอกว่า Honda Forza 350 นั้นแรงกว่า อัตราเร่งทำได้ดีกว่า แต่ความเร็วปลายไม่หนีกันมาก ซึ่งฝั่งของ Yamaha XMAX 300 นั้น สามารถทำได้ความเร็วสูงสุดที่ 150 กม./ชม.
ส่วนอัตราประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงของ Honda Forza 350 นั้น หน้าปัดขึ้นโชว์ค่า AVG อยู่ที่ 29.7 กม./ลิตร (ขับใช้งานจริงในช่วง Run in) ซึ่ง Honda เคลมไว้อัตราประหยัดน้ำมันสูงสุดไว้ที่ 31.3 กม./ลิตร
สำหรับระบบช่วงล่าง อาจจะรู้สึกไม่ต่างไปจากโฉม Forza 300 มากนัก โดยโช้คอัพด้านหลังค่อนข้างแข็ง และกระด่างอยู่พอสมควร แต่รองรับกับการขับขี่ในความเร็วสูงๆ ได้ดี รถไม่ย้วย โดยช่วงล่างหากอยากปรับให้นุ่มขึ้น สามารถปรับได้ที่โช้คอัพหลัง ซึ่งมีให้เลือกปรับแข็ง-อ่อนได้ 5 ระดับ แต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์แข็งอยู่ดี จุดนี้แอบคิดในใจ Honda น่าจะเปลี่ยนมาให้หน่อยก็ดี
ด้านระบบเบรก อันนี้มั่นใจได้ เอาอยู่ มีระยะเบรกที่สั้นและมั่นคง ไม่ไถล มีระบบ ABS Dual Channel ที่ทำงานได้อย่างรวดเร็วคอยช่วยเหลืออยู่เหมือนเดิม
ส่วนยางติดรถที่ให้มานั้น บอกตรงๆ ว่าขี่ในถนนหรือพื้นที่เปียกค่อนข้างลื่น แม้ครั้งนี้ Forza 350 จะมีการอัพเกรดระบบ Traction Control ให้ทำงานไวขึ้นกว่าเดิมแล้วก็ตาม แต่ก็พอช่วยได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น โดยจุดนี้ก็แอบสงสัยเหมือนกันว่า เหตุใด Honda ถึงเปลี่ยนจากการให้ยางติดรถ Forza 300 ล็อตแรก ที่เป็นยางจากแบรนด์ Pirelli มาเป็น IRC
สำหรับระบบช่วงล่าง ถ้าเทียบกับโฉม Forza 300 ต้องบอกว่า ไม่แตกต่างกันมาก จะมีดีก็ตรงที่ Traction Control ที่ทำงานได้เร็วขึ้น และการควบคุมรถบางจังหวะทำได้เฉียบคมขึ้นเล็กน้อย ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากบาลานซ์ และการถ่ายเทน้ำหนักของตัวรถที่เปลี่ยนไป
ข้อดีของ Honda Forza 350
ข้อเสียของ Honda Forza 350
บทสรุป
โดยรวมแล้วต้องบอกว่า Honda Forza 350 เป็นบิ๊กสกู๊ตเตอร์ที่โดดเด่นที่สุดในคลาส ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความแรง อ็อพชั่นและเทคโนโลยีที่มีมาให้เยอะกว่า รวมไปถึงดีไซน์ที่ดูหรูหราและพรีเมียมกว่า ซึ่งถือเป็นรถที่ตอบโจทย์สำหรับใครที่ชอบการขับขี่ที่สบาย สามารถใช้งานในเมืองก็ได้ หรือขับขี่เดินทางไกลก็ดี
ทั้งนี้ Honda Forza 350 มีราคาจำหน่ายอยู่ที่ 173,500 บาท ซึ่งปรับราคาขึ้นจากโฉม Forza 300 เพียง 4,500 บาทเท่านั้น
และถ้าเทียบกับ Yamaha XMAX 300 ก็ต้องบอกว่ามีราคาที่ห่างกันไม่ถึง 2,000 บาท แต่สิ่งที่ได้มามากกว่า ก็คือในเรื่องของขนาด cc. ความแรง วินชิลด์ไฟฟ้า แต่ในเรื่องความสปอร์ตโดนใจวัยรุ่นอันนี้ก็ต้องบอกตรงๆ ว่า Yamaha XMAX 300 จะดีไซน์ออกมาได้โดนใจกว่า
แนะนำ รีวิวมอเตอร์ไซค์รุ่นอื่นๆ
รีวิว Yamaha QBIX ABS Version 2020 ดีไซน์จ๊าบสุด สีสันแสบสุด ฟีเจอร์เด็ดสุด!
รีวิว GPX Demon GR200R สปอร์ตไบค์สายเลือดไทย ดีไซน์ดุดัน อ็อพชั่นจัดเต็ม
รีวิว Honda CT125 มอเตอร์ไซค์ที่พร้อมจะคุณไปค้นหาชีวิต และเส้นทางในแบบที่คุณต้องการ
รีวิว Yamaha Aerox 155 R-Version ขีดสุดแห่งความเร้าใจ สายพันธุ์สปอร์ตออโตเมติก แรงสุดในคลาส!!
รีวิว Yamaha Finn มอเตอร์ไซค์ครอบครัวสไตล์โมเดิร์น..ขี่ยังไงก็ฟินน์
รีวิว Yamaha Exciter 150 ขีดสุดของความเร้าใจ สูบฉีดอะดรีนาลีนให้พลุ่งพล่านทุกจังหวะคันเร่ง
รีวิว All-New Yamaha NMAX155 พรีเมียม A.T. สุดคุ้มค่า ซ่าได้เต็มแม็กซ์ ราคา 85,900.
รีวิว Yamaha XSR 155 สปอร์ตเฮอริเทจน้องเล็กในตระกูล XSR เท่เกินใคร เร้าใจเกินตัว
รถไฟฟ้าที่น่าสนใจ...
รถยอดนิยม
Mazda 2 ราคาเริ่มต้น 546,000.
Mazda 3 ราคาเริ่มต้น 969,000.
Mazda CX-3 ราคาเริ่มต้น 769,000.
Nissan Almera ราคาเริ่มต้น 499,000.
Nissan Kicks ราคาเริ่มต้น 889,000.
Nissan Navara ราคาเริ่มต้น 599,000.
Honda City ราคาเริ่ม 579,500.
Honda City Hatchback ราคาเริ่ม 599,000.
Honda City e:HEV ราคา 839,000.
Honda Civic ราคาเริ่ม 874,000.
Mitsubishi Triton ราคาเริ่มต้น 539,000.
Mitsubishi Xpander ราคาเริ่มต้น 789,000.
Mitsubishi Pajero Sport ราคาเริ่มต้น 1,299,000.
Toyota Revo ราคาเริ่มต้น 544,000.
Toyota Yaris ATIV 4 ประตู ราคาเริ่มต้น 529,000.
Toyota Yaris 5 ประตู ราคาเริ่มต้น 539,000.
Toyota Corolla Cross ราคาเริ่มต้น 989,000.
Toyota Fortuner ราคาเริ่มต้น 1,319,000.
แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับ " รีวิว Honda Forza 350 ใช้งานจริงเป็นอย่างไร? เทียบกับคันเก่า Forza 300 แล้วต่างขนาดไหน ไปดูกัน "